วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

it ท้องถิ่น

สำหรับคนท้องถิ่นครับ
ทุก ๆ คนอาศัยอยู่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าจะอาศัยอยู่ในองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ เช่น กรุงเทพมหานคร และทุก ๆ คน มีความคาดหวังหรือตั้งเป้าประสงค์ที่จะให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนเองอาศัยอยู่ ต้องทำงานตามความประสงค์หลัก ๆ คือ ชุมชน 1) องค์กรท้องถิ่นต้องมีการบริหารจัดการดี 2) องค์กรท้องถิ่นมีการบริหารและบริการบรรลุเป้าหมายของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 3) องค์กรท้องถิ่นมีความเข้มแข็งด้านการเงินการคลัง 4) องค์กรท้องถิ่นมีเศรษฐกิจฐานรากที่มีขีดความสามารถในการแข่งขัน

เมื่อทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ต้องไม่ลืมว่าการพัฒนาของการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความสำคัญยิ่ง กล่าวคือ หากนำประโยชน์ของ IT เพื่อการจัดการตามมิติต่าง ๆ เช่น ด้านประสิทธิภาพของการทำงาน ทำให้เกิดผล คือ รวดเร็ว เก็บข้อมูลข่าวสารได้มาก เข้าถึงเร็ว การสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว ลดต้นทุน การประสานงานได้ดี

ด้านประสิทธิผล ทำให้การตัดสินใจของผู้บริหารได้เร็วและถูกต้อง เลือกการให้บริการได้ถูกต้อง แม่นตรง ความได้เปรียบในการทำงาน การแข่งขัน ทำให้บริการประชาชนดีขึ้น
ด้านคุณภาพชีวิตในการทำงาน ทำให้ลดข้อจำกัดในเรื่องสถานที่ จัดเวลาทำงานได้ตามต้องการ ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงาน มีความอิสระส่วนตัวมากขึ้น

ดังนั้นผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยุคสมัยใหม่จะต้องตื่นตัว และต้องพัฒนาบุคลากรให้ทันตามเทคโนโลยี ดังนี้ 1.หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการทำงาน จากการทำงานแบบเดิม เช่น หนังสือราชการเสนอไปตามลำดับชั้น จะต้องเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบที่ไม่เป็นทางการมากขึ้น ผู้บริหารควรทำงานในลักษณะผู้นำ ไม่จำเป็นต้องเซ็นเอกสารทุกแผ่นที่ออกจากสำนักงาน แค่มอบอำนาจให้ผู้บริหารระดับรองทำแทน เป็นต้น การทำงานแบบทำคนเดียว ต้องเปลี่ยนมาทำแบบเป็นทีม องค์กรควรจะมีขนาดเล็ก โดยนำ IT มาใช้แทน

2.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเครี่องมือสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น

3.ต้องมีการพัฒนาฐานข้อมูลระดับท้องถิ่นเพื่อใช้งานในอนาคต (ข้อมูลพื้นฐานของท้องถิ่น ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ) ข้อมูลบริการพื้นฐานตามภาระหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ข้อมูลด้านการเงิน การคลัง ข้อมูลด้านเศรษฐกิจท้องถิ่น) และที่สำคัญผู้บริหารท้องถิ่นต้องใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจมากขึ้น

4.ต้องมีระบบการป้องกันความปลอดภัย เป็นอย่างดีของระบบคอมพิวเตอร์ และระบบข้อมูลของหน่วยงาน

5.ระบบที่จัดทำขึ้นต้องเป็นระบบที่จะช่วยลดการใช้กระดาษ เพราะระบบงานที่ใช้กระดาษทำให้งานล่าช้า ระบบใหม่ควรอยู่ในลักษณะระบบอิเลกทรอนิกส์


6.นับได้ว่าหากผู้บริหารท้องถิ่น ได้พัฒนาระบบข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) เพื่อการบริหารงานและบริการประชาชน ตัวอย่าง การจัดทำระบบการให้บริการประชาชนทางด้านการทะเบียนและบัตรประชาชนของเทศบาลต่าง ๆ การให้บริการอบต.เคาน์เตอร์เซอร์วิสของอบต.ท่าข้าม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา การจัดทำแผนที่ภาษีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่ง เป็นต้น ถือได้ว่าเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)

http://songkhlatoday.com/paper/8115

1 ความคิดเห็น: