วันเสาร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2553

มีเพื่อน..ไม่มีเหงา

มีคนบอกว่าคนบางประเภทไม่มีทางจะมีความเหงา ผมว่าไม่จริงหรอก ผมเชื่อว่าคนเราทุกคนย่อมมีมุมความทุกข์ของตัวเอง มีความเศร้าแฝงอยู่ในจิตใจ แม้กระทั่งดาราตลกก็ยังคงหนีไม่พ้นความความเศร้าที่แฝงอยู่ในส่วนลึกของหัวใจ เราจะเอาชนะมันได้ยังไง ก็คงต้องบอกว่าอย่าพยายามอยู่คนเดียว เพราะเมื่อใดที่เราต้องผจญกับความเหงา ความเศร้า..มันก็จะเข้าทักทาย

วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553

ก.ไอซีที จับมือ 5 หน่วยงาน บูรณาการเครือข่าย GIN กับระบบ GFMIS

นายสือ ล้ออุทัย ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการบูรณาการเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ (Government Information Network : GIN) กับระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Government Fiscal Management Information System : GFMIS) ว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการบูรณาการเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ (GIN) กับระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ระหว่างกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมที่ดิน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และสำนักงานสถิติแห่งชาติครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญในการที่จะร่วมกันผลักดันให้เกิดการนำระบบบริหารจัดการภาครัฐ (Back Office) มาใช้ประโยชน์ในเครือข่าย GIN อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด“ที่ผ่านมาหลายหน่วยงานได้ประยุกต์ใช้เครือข่าย GIN กับระบบงานภายใน โดยใช้รับส่งข้อมูลระหว่างต้นสังกัดกับหน่วยงานในส่วนภูมิภาค อาทิ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กับสำนักงานพัฒนาสังคมจังหวัด กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกับสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต ทั้ง 18 เขต และวิทยาลัยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมไปถึงสำนักงานสถิติแห่งชาติกับสำนักงานสถิติจังหวัดทั่วประเทศ เป็นต้น

โดยต่อมากระทรวงไอซีที กระทรวงการคลัง และกรมที่ดินได้ร่วมกันทดสอบนำส่งข้อมูลระบบบริหารการเงินการคลังแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ระหว่างศูนย์ข้อมูลของกระทรวงการคลัง และสำนักงานที่ดินจังหวัดทั่วประเทศ เมื่อเดือนกันยายน 2552 โดยใช้เครือข่าย GIN เป็นเส้นทางเครือข่ายกลางภาครัฐในการรับส่งข้อมูล ซึ่งผลการทดสอบปรากฏว่าสามารถนำส่งข้อมูล และใช้ระบบ GFMIS รวมทั้งระบบงานอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดระยะเวลาในการส่งข้อมูลการเบิกจ่ายงบประมาณได้สะดวก และรวดเร็วยิ่งขึ้น” นายสือ กล่าว

การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือครั้งนี้ นับเป็นความร่วมมือของทั้ง 6 หน่วยงาน ที่ตระหนักถึงความสำคัญและมีความมุ่งมั่นร่วมกันที่จะใช้ประโยชน์จากการบูรณาการเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ (GIN) กับระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ระหว่างหน่วยงานทั้งหมด จำนวน 319 หน่วยงาน และในอนาคตจะมีการ ขยายผลไปสู่หน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ต่อไป ทั้งนี้ เพื่อให้นโยบายและเป้าหมายที่จะขับเคลื่อนไปสู่รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

สำหรับการพัฒนาเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ (GIN) นี้ เป็นแผนงานสำคัญของกระทรวงไอซีทีภายใต้แผนทิศทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government Roadmap) โดยมีเป้าหมายสำคัญที่จะดำเนินการเชื่อมโยงเครือข่าย GIN ให้ครอบคลุมทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อสร้างโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากบริการภาครัฐได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และเชื่อถือได้

จากการดำเนินงานที่ผ่านมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2549 กระทรวง ฯได้ดำเนินการเชื่อมโยงเครือข่ายในส่วนกลางระดับกระทรวง กรม ให้เชื่อมต่อกับส่วนราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคแล้ว รวมทั้งสิ้น 1,004 หน่วยงาน โดยมีหน่วยงานในส่วนภูมิภาคที่เชื่อมโยงเครือข่าย คือ 1) สำนักงานจังหวัด 2) สำนักงานสถิติจังหวัด 3) สำนักงานพาณิชย์จังหวัด 4) สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด 5) สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด และสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 12 เขต 6) สำนักงานขนส่งจังหวัด 7) สำนักงานที่ดินจังหวัด 8) สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 18 เขต และวิทยาลัยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 9) สำนักงานประกันสังคมจังหวัด 10) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสาขาเขตพื้นที่ 13 สาขา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-1416747 ข้อมูลจาก ThaiPR.net -- อังคารที่ 23 มีนาคม 2553 15:59:00 น.
กรุงเทพฯ--23 มี.ค.--ก.ไอซีที

วันพุธที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2553

Smart e-Nose

จมูกอิเล็กทรอนิกส์ Smart e-Nose


e-Nose จมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมในการจับกลิ่นที่มนุษย์ไม่สามารถรู้ได้ เนื่องจากกลิ่นของก๊าซบางชนิดทำให้เกิดการล้มเจ็บในโรงเลี้ยงสัตว์ ซึ่งผู้ประกอบการไม่สามารถทราบสาเหตุได้


ลักษณะการใช้งาน

ก๊าซที่เกิดขึ้นในโรงเลี้ยงสัตว์ เป็นก๊าซที่เป็นอันตรายต่อการเลี้ยงสัตว์ เช่น ในพื้นดินที่มีไนโตรเจนปะปนอยู่ไม่ว่าจะเป็นจากเศษอาหาร ขี้หมู เยี่ยวหมู เมื่อได้รับความชื้นในดินมากพอก็จะเกิดขบวนการแอมโมนิฟิเคชัน ทำให้ไนโตรเจนในสารอินทรีย์แตกตัวออกแล้วปล่อยแอมโมเนียออกมา สัตว์ที่สัมผัสก๊าซนี้อยู่เสมอจะเกิดการแพ้ระคายต่อเยื่ออ่อนต่างๆ เช่น อวัยวะสืบพันธุ์ ตา หู ปาก จมูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบทางเดินหายใจ ทำให้สัตว์เครียด อ่อนแอลง มีการแสดงออกคล้ายเป็นหวัดอ่อนๆ เช่น มีน้ำมูก น้ำตาไหล สัตว์จะถูกเชื้อโรคเข้าซ้ำเติมจนเป็นโรคต่างๆ ได้ง่าย ส่วนใหญ่สัตว์ปีกจะไวต่อก๊าซแอมโมเนียมาก ส่วนหมูจะได้รับผลกระทบจากก๊าซนี้เช่นกัน



สำหรับงานวิจัยนี้ได้นำจมูกอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้สายมาทำการวิเคราะห์สภาพภูมิอากาศ หรือสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นบริเวณฟาร์มเลี้ยงสัตว์ซึ่งมีการส่งข้อมูลเป็นเครือข่ายทำให้ได้ข้อมูลของก๊าซในบริเวณต่างๆ ของฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เพื่อเก็บข้อมูลสำหรับประมวลผลสภาพอากาศ ณ ช่วงเวลานั้นๆ ว่าสภาพอากาศนั้นเป็นสภาพอากาศดี สภาพอากาศพอใช้ หรือสภาพอากาศเสีย จากนั้นข้อมูลวิเคราะห์ขึ้นมาได้จะถูกเก็บในฐานข้อมูลเพื่อนำข้อมูลนั้นไปแก้ไขในเรื่องระบบสภาพฟาร์มเลี้ยงสัตว์ หรือมลภาวะที่เกิดจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ให้ได้ถูกต้องตามกระบวนการต่อไป

หลักการทำงาน

คุณสมบัติของเครื่องตรวจวัดก๊าซ

วัดก๊าซได้ 5 ชนิด Methane Ammonia Oxygen Hydrogen Sulfide Carbon dioxide
สามารถแสดงความชื้น อุณหภูมิ และเวลาในการวัด
แสดงผลผ่านหน้าจอ LCD
มีส่วนควบคุมการไหลของอากาศ
มีตัวกรองอากาศ สำหรับสร้างอากาศอ้างอิง
ส่งข้อมูลผ่านพอร์ตอนุกรม RS232
เชื่อมต่อระบบเครือข่ายด้วย Wireless Network
หลักการทำงานของเครื่องจะเริ่มจากส่วน Pneumatic ซึ่งจะมีปั้มลมทำหน้าที่นำอากาศจากภายนอกเข้ามาวัดอากาศ โดยอากาศจะถูกควบคุมทิศทางด้วยโนลินอยวาล์ว (Solenoid Vale) เพื่อนำอากาศนั้นมาเปรียบเทียบกับอากาศอ้างอิง โดยอากาศที่ถูกควบคุมทิศทางการไหลจะเข้ามายังส่วนของก๊าซเซ็นเซอร์อาเรย์ เพื่อทำการทดสอบโดยข้อมูลที่ได้จะอยู่ในรูปสัญญาณแอนะล็อก ดังนั้นจึงต้องผ่านกระบวนการแปลงสัญญาณให้อยู่ในรูปแบบดิจทัลสำหรับส่งข้อมูลผ่านระบบ Wireless Network ให้กับคอมพิวเตอร์กลางเพื่อทำการวิเคราะห์สภาพอากาศ และเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลต่อไป

เชิญชม ตัวอย่างได้ที่ งานประชุมวิชาการ สวทช. ประจำปี 2553

โดย ดร.อดิสร เตือนตรานนท์
ข้อมูลจาก nectec

วันอาทิตย์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2553

ขอบคุณ ดร.ยงยุทธ ยะบุญธง

จบวิชาที่ 3 ไปแล้ว ก็เร็วดีเหมือนกัน สอบเมื่อวานไม่รู้ว่าจะตอบตรงใจอาจารย์หรือเปล่า ไม่สามารถเอาความรู้ออกมาอธิบายได้อย่างที่ใจต้องการ แต่รู้ว่าวิชานี้ทำให้รู้อะไรที่เป็นโลกกว้างเพิ่มมากขึ้น ต้องขอบคุณ ดร.ยงยุทธ ยะบุญธง ที่เปิดโลกทัศน์ให้ผม รวมถึงคนอื่นๆหลายๆคน คงได้รับความรู้ใหม่ๆเพิ่มเติมมาอีกเยอะ อย่างน้อยๆ ก็ blog นี้แหละ ซึ่งผมขอให้สัญญาว่าจะทำให้ดีๆๆๆขึ้นเรื่อยๆ blog นี้ทำขึ้นหลังจากที่ ดร.ยงยุทธ แนะนำในชั่วโมงแรกของการเรียนการสอนไม่กี่นาที ก็หลังจากที่เข้าไปอ่าน blog ของ ดร. เสร็จก็ลยเลย ความรู้ที่ได้แม้จะประเมินออกมาแล้วคะแนนจะไม่ถึง A แต่ผมรู้ว่าความรู้ที่ได้มันเกิน A แล้วครับ จะเป็นไรไป B+ มา 2 วิชาซ้อนแล้วนี่

วันเสาร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2553

อีโคคาร์

ไม่ได้เชียร์นะครับ แต่เห็นว่าราคาที่เปิดตัวมาพอใช้ได้เลย ใครที่คิดว่าจะซื้อรถให้ลูกสักคัน ผมว่าลองไปดูนะครับ ส่วนถ้าใครสนใจ เชพโลเลต ทุกรุ่น อยากมีส่วนลดหลายๆหมื่นบาท ติดต่อส่วนตัวได้ครับ

ข่าวในประเทศ - นับถอยหลังอีกเพียงกว่า 3 เดือน สิทธิประโยชน์ให้กับ "อีโคคาร์" จะเริ่มมีผลเป็นทางการ แต่เมื่อสำรวจความพร้อมของค่ายรถกลับเงียบสนิท แม้แต่ "ฮอนด้า" ที่ประกาศตัวพร้อมสุด และจะเปิดตัวรถได้ในปลายปี 2552-2553 ก็เกิดอาการคล้ายโรคเลื่อน ถึงจะยืนยันทุกอย่างเป็นไปตามแผน แต่ก็ยอมรับจะไม่ใช่ค่ายแรกแน่นอน เช่นเดียวกับยี่ห้ออื่นๆ ที่มีแผนผลิตในปี 2553 ต่างเลื่อนกันหมด ไม่ว่าจะเป็น "ซูซูกิ-ทาทา" ยิ่งไม่ต้องพูดถึง "โตโยต้า-มิตซูบิชิ" ที่มีความพร้อมน้อยที่สุด งานนี้นอกจากผลกระทบวิกฤตเศรษฐกิจโลก จนเป็นช่องให้เกือบทั้งหมดจับมือเตรียมเจรจากับรัฐบาล ขอลดเงื่อนไขการลงทุน 2 ประเด็น คือ กำลังการผลิต 1 แสนคัน ในปีที่ 5 เป็นต้นไป และเงินลงทุน 5,000 ล้านบาท รวมถึงเปลี่ยนจากตั้งโรงงานใหม่ เป็นเพียงลงทุนเครื่องจักรใหม่เท่านั้น โดยต่างจะรอการเจรจาก่อน จึงจะกลับมาดูแผนผลิตอีโคคาร์อีกครั้ง ซึ่งคาดว่าจะเริ่มขึ้นไลน์ผลิตในปี 2554 โน้น ส่วนค่าย "นิสสัน" จะเดินหน้าลุยเดี่ยว เปิดตัวทำตลาดแน่ในปี 2553 เพราะเป็นนโยบายบริษัทแม่ ที่ย้ายฐานการผลิตรถเล็กจากญี่ปุ่นมาไทยอยู่แล้ว ฉะนั้นผลการเจรจาเป็นอย่างไร นิสสันมีแต่ได้อย่างเดียว



นิสสัน มาร์ช


1 ตุลาคม 2552 เป็นต้นไป จะเริ่มให้สิทธิประโยชน์รถยนต์นั่งขนาดเล็กประหยัดพลังงาน หรือ "อีโคคาร์" ซึ่งมีบริษัทรถยนต์ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ 6 รายได้ ได้แก่ ฮอนด้า, นิสสัน, ซูซูกิ, ทาทา, มิตซูบิชิ และโตโยต้า รวมมูลค่าลงทุนกว่า 4 หมื่นล้านบาท ฉะนั้นหากทุกอย่างเป็นไปตามแผนงานของแต่ละยี่ห้อ ปลายปีนี้น่าจะเริ่มเห็นความเคลื่อนไหวอย่างคึกคักของอีโคคาร์ หรืออาจจะถึงกับมีการเผยโฉมให้เห็นกันบ้างแล้ว ก่อนลุยตลาดแย่งชิงยอดขายกันอย่างดุเดือดในปี 2553 เป็นต้นไป





แน่นอนจากข่าวคราวก่อนหน้านี้ "ฮอนด้า" ถือว่าเป็นค่ายที่มีความพร้อมมากที่สุด จากนโยบายใช้ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ขนาดเล็ก เมื่อเกิดโครงการอีโคคาร์ในไทย จึงเข้าทางฮอนด้าแบบเต็มๆ จึงไม่แปลกที่ฮอนด้าจะยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอเป็นรายแรก ด้วยวงเงินลงทุนกว่า 6,700 ล้านบาท และงานนี้ผู้บริหารของเอเชี่ยน ฮอนด้า มอเตอร์ สำนักงานใหญ่ของฮอนด้าประจำภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ถึงกับประกาศว่าจะผลิตรถออกมาในช่วงปี 2552-2553

หากดูเวลา ณ ช่วงนั้น นั่นก็หมายความว่า... ฮอนด้าจะเป็นรายแรก ที่ผลิตรถอีโคคาร์ออกมา!

ส่วนค่ายอื่นๆ ที่ประกาศพร้อมลุย ไม่ว่าจะเป็น "ซูซูกิ" ซึ่งได้ตกลงซื้อที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมเหมราช อีสเทิร์นซีบอร์ด เพื่อตั้งโรงงานผลิตรถยนต์อีโคคาร์ มูลค่าลงทั้งหมด 9,500 ล้านบาท และตั้งเป้าว่าจะเริ่มผลิตในปี 2553 เช่นเดียวกับ "นิสสัน" และ "ทาทา" ขณะที่โตโยต้าและมิตซูบิชิน่าจะเป็นปีถัดไปประมาณปี 2554-2555





แต่ในความเป็นจริง ณ วันนี้ ซึ่งเหลือเวลาอีกเพียงกว่า 3 เดือน ที่จะเริ่มให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกับรถยนต์อีโคคาร์ กลับแทบจะไม่มีข่าวคราวความคืบหน้าดังกล่าวเลย ยกเว้นค่าย "นิสสัน" ที่ชัดเจนว่า... จะเปิดตัวอีโคคาร์สู่ตลาดในปี 2553 นี้

"ฮอนด้ายืนยันว่าทุกอย่างยังเป็นไปตามแผน แต่ยังไม่สามารถบอกกำหนดเปิดตัวแน่นอนได้ ส่วนการเปิดตัวสู่ตลาดเป็นรายแรกคงไม่ใช่ และก็ไม่ใช่ประเด็นสำคัญด้วย เพราะอยู่ที่ว่าสินค้าใครจะถูกใจลูกค้ามากกว่า และฮอนด้ามีความมั่นใจสินค้าจะสามารถตอบสนองลูกค้าได้"





นั่นคือให้การสัมภาษณ์สื่อมวลชนล่าสุดของ "อาซึชิ ฟูจิโมโตะ" ประธานบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ที่ชัดเจนว่า... ฮอนด้าจะไม่ใช่รายแรกที่เปิดตัวอีโคคาร์สู่ตลาด และแม้จะยืนยันทุกอย่างเป็นไปตามแผน แต่จากกระแสข่าวที่ออกมา โครงการอีโคคาร์ของฮอนด้าน่าจะเลื่อนไปเป็นปี 2554

ส่วนค่ายที่เคยประกาศความพร้อมอย่างซูซูกิ ได้มีรายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์นิเคอิ ถึงการเลื่อนแผนการสร้างโรงงานในไทย และเรื่องนี้ "สิทธิศักดิ์ เกสรวิบูลย์" รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซูซูกิ ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ยอมรับว่า...

"การเลื่อนแผนตั้งโรงงานในไทย เป็นไปตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลก และสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ชะลอตัวลง แต่ซูซูกิไม่ได้ยกเลิกโครงอีโคคาร์ในไทย เพราะบริษัทแม่มีความต้องการลงทุนในไทย โดยได้จัดซื้อที่ดินรองรับไว้แล้ว หากเป็นไปตามแผนขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนก่อสร้างโรงงาน เพียงแต่สถานการณ์ต่างๆ ไม่เอื้ออำนวย จึงต้องชะลอแผนไปก่อน"





เมื่อเป็นเช่นนี้อีโคคาร์ของซูซูกิน่าจะเปิดตัวได้ในปี 2554 เป็นอย่างเร็ว เช่นเดียวกับค่าย "ทาทา" ที่เดิมกำหนดจะขึ้นไลน์ผลิตในช่วงปลายปี 2553 แต่จากข่าวคราวล่าสุดก็เลื่อนออกไปในช่วงระยะเวลาเดียวกัน ส่วนโตโยต้าและมิตซูบิชิที่ไม่ได้มีความพร้อมในโครงการอีโคคาร์มากที่สุด แน่นอนการที่คู่แข่งเลื่อนแผนเปิดตัวออกไปจึงเป็นผลดีกับทั้งสองยี่ห้อ มากกว่า

การเลื่อนเปิดตัวอีโคคาร์ของค่ายรถเกือบทั้งหมด สิ่งที่อ้างได้มาจากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว จนทำให้ตลาดรถยนต์หดตัวลงอย่างมาก จึงเป็นจังหวะไม่เหมาะสมที่จะลงทุนโครงการขนาดใหญ่ และที่สำคัญเงื่อนไขการลงทุนของอีโคคาร์ นับว่าเป็นอุปสรรคอย่างมากในการลงทุนสภาวะเช่นนี้

"สภาวะเศรษฐกิจโลกตกต่ำ จนส่งผลกระทบทุกอุตสาหกรรม โดยเฉพาะรถยนต์ที่ยอดขายและส่งออกตกลงมาก ทำให้บริษัทรถยนต์ที่ยื่นขอรับส่งเสริมลงทุนผลิตอีโคคาร์ชะลอแผนออกไป เพราะจะเป็นความเสี่ยงมากหากจะลงทุนโครงการขนาดใหญ่ ในสภาวะเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย และอาจจะส่งผลต่อการดำเนินในอนาคตได้"

เป็นคำกล่าวของแหล่งข่าวจากหนึ่งในบริษัท ที่ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนโครงการอีโคคาร์จากบีโอไอ และเดิมมีแผนจะเปิดตัวรถสู่ตลาดในปี 2553 เช่นกัน พร้อมกันนี้ยังเปิดเผยกับ "ASTVผู้จัดการมอเตอริ่ง" ว่า... "ปัญหา สำคัญอีกอย่างที่เรามองเห็นในทิศทางเดียวกัน คือ เงื่อนไขการลงทุนในการรับสิทธิประโยชน์ของโครงการอีโคคาร์ ไม่เอื้ออำนวยกับสภาวะปัจจุบัน โดยเฉพาะเรื่องของการผลิตรถยนต์ 1 แสนคันขึ้นไปในปีที่ 5 และมูลค่าการลงทุนไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท"

"เหตุนี้จึงมีการคุยกัน ว่า จะเข้าไปคุยกับรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอปรับเงื่อนไขการลงทุนดังกล่าวลง เพราะสภาวะเช่นนี้การผลิตรถยนต์โมเดลหนึ่งให้ได้ 1 แสนคันเป็นเรื่องยากมาก และปัจจุบันบริษัทรถยนต์เกือบทั้งหมดล้วนประสบปัญหาสภาพคล่อง เงินลงทุนในการตั้งโรงงานใหม่ จึงเป็นปัญหาพอสมควร เหตุนี้ทางค่ายรถจึงต้องการลดวงเงินลงทุนลง และอาจจะไม่ตั้งโรงงานแห่งใหม่ โดยนำเครื่องจักรใหม่มาตั้งในโรงงานที่มีปัจจุบันแทนจะได้หรือไม่"

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า... "นี่จึงเป็นอีกเหตุผลที่ทำให้ค่ายรถส่วนใหญ่เลื่อนแผนลงทุนและผลิตออกไปก่อน ส่วนที่ค่ายนิสสันยังสามารถดำเนินการตามแผนได้ เพราะเป็นนโยบายของบริษัทใหม่ นิสสัน มอเตอร์ ที่ได้มีการย้ายฐานการผลิตรถยนต์ขนาดเล็กมาไทยอยู่แล้ว จึงต้องลงทุนและผลิตรถออกมาทำตลาดและส่งออก แทนโรงงานที่ญี่ปุ่น ดังนั้นไม่ว่าโครงการอีโคคาร์จะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ นิสสันก็มีแต่เสมอตัวกับได้ประโยชน์เท่านั้น"

จากความเคลื่อนไหวทั้งหมด อีโคคาร์ของค่ายรถที่ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนส่วนใหญ่ ไม่น่าจะเกิดได้ในปี 2552-2553 นี้ ยกเว้น "นิสสัน" ค่ายเดียวที่ประกาศเดินหน้าตามแผนเช่นเดิม จากการเปิดเผยของ "โทรุ ฮาเซกาวา" กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

"อีโคคาร์เป็นรถเล็กราคาประหยัด ที่จะเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจ และตลาดรถยนต์ในประเทศให้มีความคึกคัก ในส่วนของบริษัทยืนยันว่าจะมีรถทำตลาดในปีหน้า และจากนั้นจะมีหลายค่ายทยอยเปิดตัวทำตลาดซึ่งระยะเวลาจะเป็นเมื่อไหร่ไม่รู้ แต่คาดว่า ภายใน 3-4 ปี อีโคคาร์จะได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวไทย และเป็นตลาดใหญ่ด้วยยอดขาย 1.0-1.5 แสน

ทั้งนี้จากรายงานข่าว นิสสัน มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น ได้ลงทุนในประเทศไทย เพื่อยกฐานะให้เป็นฐานการผลิตรถยนต์นั่งขนาดเล็ก "นิสสัน มาร์ช" (Nissan March) โมเดลใหม่ ซึ่งเป็นเจนเนอเรชั่นที่ 4 เพื่อส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น และอาเซียน โดยอีโคคาร์จะใช้พื้นฐานโครงสร้างตัวถังของมาร์ชในการพัฒนา ส่วนจะใช้ชื่ออะไรยังไม่ชัดเจนในขณะนี้

สำหรับจุดขายอีโคคาร์ของนิสสัน จะเน้นที่เรื่องของราคาประหยัด สมถรรนะเยี่ยม และมีความอเนกประสงค์ในการใช้งาน โดยเครื่องยนต์จะเป็นเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งว่ากันว่ามีอัตราสิ้นเปลืองต่ำมาก อาจจะถึง 25 กิโลเมตรต่อลิตร ฉะนั้นอัตราสิ้นเปลือง 20 กิโลเมตรต่อลิตร ตามเงื่อนไขอีโคคาร์จึงไม่มีปัญหาแต่อย่างใด

ดังนั้นผู้ที่เฝ้ารอคอยอีโคคาร์ คงไม่ถึงกับเป็นแม่สายบัวรอเก้อ เพราะ ณ เวลานี้ยังมีอีโคคาร์"นิสสัน" ที่มาตามนัด ถึงจะเป็นเพียงหนึ่งเดียวที่เปิดตัวนำร่องไปก่อนก็ตาม แต่หากใครยังยึดติดกับแบรนด์ หรือต้องการมีทางเลือกที่หลากหลาย คงต้องเก็บตังค์รอต่อไปจนถึงปี 2554 โน้น!

ข้อมูลข่าวจาก : ASTVผู้จัดการออนไลน์

วันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2553

นวัตกรรม เทคโนโลยี เทคโนโลยีสารสนเทศ

ความหมายของ "นวัตกรรม เทคโนโลยี เทคโนโลยีสารสนเทศ" “นวัตกรรม เทคโนโลยี เทคโนโลยีสารสนเทศ”

ความหมาย คำว่า “นวัตกรรม” มีผู้ให้ความหมายที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้

มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา (boonpan edt01.htm)

ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ไว้ว่าหมายถึง วิธีการปฎิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฎิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น

จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520 : 37) ได้กล่าวถึงความหมายของ “นวัตกรรม” ไว้ว่า “แม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ (บุญเกื้อ ควรหาเวช , 2543)

จากความหมายดังกล่าวข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า “นวัตกรรม” หมายถึง การนำสิ่งที่มีอยู่แล้วมาพัฒนาปรับปรุงวิธีการ กระบวนการต่างๆ ให้ก้าวไปสู่ผสสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ความหมายของคำว่า “เทคโนโลยี” มีผู้ให้ความหมายไว้ดังนี้

พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน (2539 : 406) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยี คือ "วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม"

สิปปนนท์ เกตุทัต (ม.ป.ป. 81) อธิบายว่า เทคโนโลยี คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ มาผสมผสานประยุกต์ เพื่อสนองเป้าหมายเฉพาะตามความต้องการของมนุษย์ด้วยการนำทรัพยากรต่าง ๆ มาใช้ในการผลิตและจำหน่ายให้ต่อเนื่องตลอดทั้งกระบวนการ เทคโนโลยีจึงมักจะมีคุณประโยชน์และเหมาะสมเฉพาะเวลาและสถานที่ และหากเทคโนโลยีนั้นสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีนั้นจะเกื้อกูลเป็นประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและส่วนรวม หากไม่สอดคล้องเทคโนโลยี นั้น ๆ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามหาศาล
ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์ (2531 : 170) กล่าวว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิธีการ และความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูง โดยปกติเทคโนโลยีนั้นมีความรู้วิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย นั้นคือวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงมักนิยมใช้สองคำด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเน้นให้เข้าใจว่า ทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไปจึงจะมีประสิทธิภาพสูง

จากการที่มีผู้ให้ความหมายไว้หลากหลาย สรุปได้ว่า “เทคโนโลยี” หมายถึง วิชาที่นำเอาวิทยาการทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ในทางปฎิบัติ กอปรกับการนำเอาความชำนาญในเรื่องนั้นๆ เข้ามาใช้เพื่อให้ภารกิจนั้นมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

ความหมายของคำว่า “เทคโนโลยีสารสนเทศ”

บีแฮนและโฮลัมส์ ให้ความหมายไว้ว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง เทคโนโลยีที่ทำให้มนุษย์สามารถสร้างระบบสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนทำให้เกิดประสิทธิผลและประโยชน์อย่างมหาศาล ได้แก่ การใช้ทำเบียนข้อมูล การจัดเก็บ การประมวลผลการค้นคืน การส่งและรับสารสานเทศต่าง ๆ

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ให้ความหมายว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ เมจากเทคโนโลยีเดิมที่ใช้ในการจัดเก็บ ประมวลผล แสดงผล และเผยแพร่สารสนเทศในรูปของข้อมูล ข้อความและเรื่อง โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคม

ลูคัส จูเนียร์ (Lucas,JR 1997 : 7 ) กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง รูปแบบของเทคโนโลยีทุกประเภท ที่นำมา ประยุกต์ใช้ เพื่อการประมวลผล การจัดเก็บ

สรุป "เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดวิธีการใหม่ ๆ ในการจัดเก็บข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ การประมวลผล แสดงผล การเข้าถึงสารสนเทศ การรับสารสนเทศ และการจัดการสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ

ขอบคุณ ธุมวดี บุรีวงศ์ http://learners.in.th/blog/nsrug520214/359893

วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2553

วิธีการเขียนโครงการ

วิธีการเขียนโครงการ

โครงการ หมายถึง การวางแผนล่วงหน้าที่จัดทำขึ้นอย่างมีระบบ ประกอบด้วยกิจกรรมย่อยหลายกิจกรรมที่ต้องใช้ทรัพยากรในการดำเนินงาน และคาดหวังที่จะได้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า แต่ละโครงการมีเป้าหมายเพื่อการผลิตหรือการให้บริการเพื่อเพิ่มพูนสมรรถภาพของแผนงาน การเขียนโครงการจึงเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการวางแผนที่จะทำให้องค์กรบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย

ลักษณะของโครงการที่ดี
1. สามารถแก้ปัญหาขององค์กรหรือหน่วยงานนั้น ๆ ได้
2. มีรายละเอียด วัตถุประสงค์เป้าหมายต่าง ๆ ชัดเจน สามารถดำเนินงานได้
3. รายละเอียดของโครงการต่อเนื่องสอดคล้องสัมพันธ์กัน
4. ตอบสนองความต้องการของกลุ่มชน สังคมและประเทศชาติ
5. ปฏิบัติแล้วสอดคล้องกับแผนงานหลักขององค์กร
6. กำหนดขึ้นอย่างมีข้อมูลความจริงและเป็นข้อมูลที่ได้รับการวิเคราะห์อย่างรอบคอบ
7. ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารทุกด้าน โดยเฉพาะด้านทรัพยากรที่จำเป็น
8. มีระยะเวลาในการดำเนินงานแน่นอน ระบุวันเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุด
9. สามารถติดตามประเมินผลได้

ขั้นตอนการเขียนโครงการ
1. วิเคราะห์ปัญหาหรือความต้องการ ดำเนินการโดย
- ศึกษาสภาพแวดล้อมเพื่อค้นหาปัญหา
- กำหนดสภาพแห่งการหมดปัญหา
- กำหนดแนวทางแก้ไข
2. เขียนโครงการ โดยมีเทคนิค ดังนี้
2.1 ก่อนลงมือ ต้องตั้งคำถามและตอบคำถาม 6 W 1H
2.1.1 W1 = WHO หมายถึง คำถาม “ใครเป็นผู้ดำเนินโครงการ”
2.1.2 W2 = WHAT หมายถึง คำถาม “จะทำอะไรบ้าง”
2.1.3 W3 = WHEN หมายถึง คำถาม “จะทำเมื่อไหร่”
2.1.4 W4 = WHERE หมายถึง คำถาม “จะดำเนินโครงการที่ไหน”
2.1.5 W5 = WHY หมายถึง คำถามที่เกี่ยวกับ “จะทำโครงการนี้ไปทำไม”
2.1.6 W6 = TO WHOM หมายถึง คำถาม “ใครเป็นผู้ได้รับประโยชน์”
2.1.7 H1 = HOW หมายถึง คำถาม “จะดำเนินโครงการอย่างไร”
2.2 ศึกษาเกณฑ์การคัดเลือกโครงการ
2.3 ลงมือเขียนโครงการ โดยใช้ภาษาเขียนที่กระชับ สื่อความหมายได้ชัดเจน

รูปแบบการเขียนโครงการ
การเขียนโครงการจะประกอบด้วย
1. ชื่อโครงการ เป็นการระบุเพื่อให้ทราบถึงแนวทางปฏิบัติและการคาดหวังผลตอบแทนที่สืบเนื่องจากการปฏิบัติโครงการตลอดจนทิศทางของการดำเนินโครงการนั้น
2. หลักการและเหตุผล เป็นการระบุถึงสภาพปัญหาและความจำเป็นในการจัดทำโครงการขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
3. วัตถุประสงค์โครงการ เป็นการแสดงให้เห็นถึงสิ่งหรือผลงานที่เป็นจุดหมายปลายทางที่ต้องการจะให้เกิดขึ้นจาการปฏิบัติงานนั้น การกำหนดวัตถุประสงค์ที่ดีจะเป็นการช่วยให้การกำหนดขั้นตอนสำหรับปฏิบัติเป็นอย่างรัดกุม การกำหนดวัตถุประสงค์ที่ดีควรประกอบด้วยองค์ประกอบที่เรียกว่า “SMART”
1. S = Sensible (เป็นไปได้) วัตถุประสงค์ที่ดีต้องมีความเป็นไปได้
2. M = Measurable ( วัดได้) วัตถุประสงค์ที่ดีจะต้องสามารถวัดและประเมินผลได้
3. A = Attainable (ระบุสิ่งที่ต้องการ) วัตถุประสงค์ที่ดีจะต้องระบุสิ่งที่ต้องการ
ดำเนินงานอย่างชัดเจนและเฉพาะเจาะจงมากที่สุด
4. R = Reasonable (เป็นเหตุเป็นผล) วัตถุประสงค์ที่ดีต้องมีความเป็นเหตุเป็นผล
ในการปฏิบัติงาน
5. T = Time ( เวลา) วัตถุประสงค์ที่ดีต้องมีขอบเขตของเวลาที่แน่นอนในการ
ปฏิบัติงาน

4. กลุ่มเป้าหมาย ระบุกลุ่มเป้าหมายและจำนวนให้ชัดเจน ใครคือผู้ที่จะได้รับผลดีจากโครงการนี้ จำนวนผู้ที่ได้รับผลดีจากโครงการนี้

5. สถานที่ดำเนินการ ระบุสถานที่ดำเนินการโครงการ ระบุพื้นที่ โดยระบุหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด

6. ระยะเวลาดำเนินการโครงการ เป็นการกำหนดช่วงเวลาการปฏิบัติโครงการตั้งแต่ระยะเริ่มต้นปฏิบัติโครงการจนถึงการสิ้นสุดโครงการนั้น





7. วิธีดำเนินการ ควรแสดงถึงกิจกรรมและกระบวนการปฏิบัติงานที่สอดรับกับวัตถุประสงค์
แสดงรายละเอียดกิจกรรมเพียงพอ และมีกำหนดระยะเวลาของแต่ละกิจกรรมที่สมเหตุสมผล และควรมีกิจกรรมต่อเนื่อง หากเป็นโครงการที่มีการฝึกอบรม ดูงาน จะต้องมีกิจกรรมต่อเนื่องที่จะส่งผลต่อการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนผู้สูงอายุ และมีกำหนดการการฝึกอบรม หัวข้อที่จะฝึกอบรม
การเขียนวิธีดำเนินการ ให้แจกแจงดังนี้
- ขั้นเตรียมการ
- ขั้นดำเนินงาน
- กิจกรรมที่จะดำเนินงานตามโครงการ

8. งบประมาณ งบประมาณหรือค่าใช้จ่ายของโครงการนับเป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อการปฏิบัติโครงการ โดยทั่วไปมีองค์ประกอบ ดังนี้
1. ยอดรวมค่าใช้จ่ายทั้งโครงการ
2. ค่าใช้จ่ายของแต่ละกิจกรรมหรือแต่ละช่วงเวลาพร้อมทั้งรายละเอียดค่าใช้จ่าย

9. การประเมินโครงการ เป็นกระบวนการในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลของการดำเนินโครงการและพิจารณาบ่งชี้ให้ทราบถึงจุดเด่นหรือจุดด้อยของโครงการนั้น

10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ เป็นผลที่เกิดขึ้นจากการที่โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ ผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติโครงการ สามารถแสดงให้เห็นผลที่เป็นประโยชน์ทางตรง ทางอ้อม



ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.maehongson.m-society.go.th/datafrom/form/วิธีเขียนโครงการ.doc

วันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553

พรบ.คอมพิวเตอร์ 2550

เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๒๗ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐
พระราชบัญญัติ
ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ศ. ๒๕๕๐
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐
เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของ
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ
คอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
“ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงาน
เข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์
หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
หน้า ๕
เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๒๗ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐
“ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดา
ที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึง
ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
“ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบ
คอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลา
ชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
“ผู้ให้บริการ” หมายความว่า
(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดย
ประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือ
ในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
“ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตาม
พระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึง
โดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน
หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ
ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หน้า ๖
เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๒๗ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐
มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ
และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้
ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น
มิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน
สามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือ
บางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน
หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์
ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิด
หรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของ
บุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือ
ในภายหลังและไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกิน
สองแสนบาท
(๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบ
คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคง
ในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือ
ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และ
ปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่
สิบปีถึงยี่สิบปี
หน้า ๗
เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๒๗ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐
มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือ
ในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือ
มาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือ
ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือ
ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด
ความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง
แห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและ
ข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑)
(๒) (๓) หรือ (๔)
มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔
ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตาม
มาตรา ๑๔
มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูล
คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม
หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้น
เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือ
ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด
ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้
ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ
บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
หน้า ๘
เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๒๗ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐
(๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือ
ผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและ
ผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร
หมวด ๒
พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มี
เหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่ง
อย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด
และหาตัวผู้กระทำความผิด
(๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติ
นี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบ
ที่สามารถเข้าใจได้
(๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบ
คอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่
ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์
ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยัง
มิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
(๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บ
ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์
หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับ
การกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์
ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
หน้า ๙
เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๒๗ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐
(๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการ
เข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ใน
การถอดรหัสลับดังกล่าว
(๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียด
แห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ
(๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่
ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการ
อย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำ
ความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถ
จะระบุได้ ประกอบคำร้องด้วยในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็ว
เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนา
บันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้
เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครอง
เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือ
ผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดำเนินการตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ
(๘) ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการให้ศาลที่มีเขตอำนาจ
ภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐาน
การทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อ
ได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของ
เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น
การยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ (๘) นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรือ
อายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้วพนักงานเจ้าหน้าที่จะ
สั่งยึดหรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้อง
ต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือ
หลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวลา
ดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน
หน้า ๑๐
เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๒๗ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐
หนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลาย
ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามที่กำหนดไว้ในภาคสอง
ลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อย
หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้อง
พร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูล
คอมพิวเตอร์นั้นได้
ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้
พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้
แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้
มาตรา ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่งไม่พึง
ประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้าม
จำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทำลาย
หรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือ
เผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้
ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ตามวรรคหนึ่งหมายถึงชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือ
ระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม
ขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้น ตามที่รัฐมนตรี
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๒๒ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูล
จราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใด
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด
ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่
โดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาล
พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน
หกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หน้า ๑๑
เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๒๗ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐
มาตรา ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์
ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๔ ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของ
ผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษ
จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๕ ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่
ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ
มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น
มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
นับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการ
ผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวันแต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย
และเฉพาะคราวก็ได้
ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการ
นับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง
ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรี
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
มาตรา ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘
หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท
และปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๒๘ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้
และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงาน
ฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจรับคำร้องทุกข์
หรือรับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
หน้า ๑๒
เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๒๗ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐
ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตาม
พระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงาน
สอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับพนักงาน
สอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติและรัฐมนตรีมีอำนาจร่วมกัน
กำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตามวรรคสอง
มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคล
ซึ่งเกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี
หน้า ๑๓
เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๒๗ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็น
ส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบ
คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือ
ใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือ
ใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิด
ความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรม
อันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็น
ต้องตราพระราชบัญญัตินี้

วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553

โรงเรียนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

โครงการจัดการศึกษาด้วยระบบทางไกลผ่านดาวเทียม
การจัดการศึกษาด้วยระบบทางไกลผ่านดาวเทียม
1. ความเป็นมา
1.1 กรมสามัญศึกษาประสบปัญหาการขาดแคลนครูที่สอนระดับมัธยมศึกษาตลอดมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ และโรงเรียนที่อยู่บริเวณชายแดน มีนักเรียน 1,000 คน ต่อครู 20 คน ขณะที่ครูมัธยมในอำเภอต่างๆ มี 70-100 คน (วุฒิปริญญาตรีถึงปริญญาโท) ต่อนักเรียน 1,000 คน ในโรงเรียนมัธยมประจำจังหวัดมีครู 185-200 กว่าคน (วุฒิปริญญาตรีถึงปริญญาเอก) ต่อนักเรียน 3,800 คน ถึง 4,000 คน กรมสามัญศึกษาพยายามแก้ไขสถานการณ์ตลอดมา นายขวัญแก้ว วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวังฝ่ายกิจกรรมพิเศษ ผู้จัดการโรงเรียนวังไกลกังวลตั้งแต่ปี 2522 และประธานกรรมการบริหารมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ซึ่งให้การสนับสนุนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์จำนวน 35 โรงเรียนทั่วประเทศ ได้หารือประสานงานกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและอธิบดีกรมสามัญศึกษา ในการถ่ายทอดการเรียนการสอนผ่านดาวเทียมจากโรงเรียนวังไกลกังวล หัวหิน อันเป็นโรงเรียนราษฎร์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ช่วยพัฒนามาตามลำดับจนเป็นโรงเรียนตัวอย่าง เป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพระราชพิธีกาญจนาภิเษกเมื่อปี 2539 และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีที่พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณแก่โรงเรียนวังไกลกังวลโดยทรงแนะนำให้สอนวิชาชีพ เป็นต้นกำเนิดของวิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล
1.2 เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2538 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ประกอบพิธีเปิดการเรียนการสอนการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ออกอากาศเป็นปฐมฤกษ์ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการและหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ เป็นกรรมการบริหาร และมีการเลือกตั้งประธานกรรมการบริหารได้แก่นายขวัญแก้ว วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวังฝ่ายกิจกรรมพิเศษ
1.3 เพื่อแก้ไขการขาดแคลนครูในชนบทข้างต้น มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมดำเนินงานมาแล้วเป็นปีที่ 6 สามารถถ่ายทอดสดหลักสูตรมัธยมศึกษา ขยายเครือข่ายไปยังโรงเรียนมัธยมประจำจังหวัดทั่วประเทศประมาณ 2,700 โรงเรียน โรงเรียนเอกชน และโรงเรียนอื่นๆ ประมาณ 300 แห่ง รวม 3,000 โรงเรียน มีนักเรียนที่ได้รับพระราชทานการศึกษาจากโรงเรียนวังไกลกังวล ประมาณ 2 ล้านคน สมาชิก UBC อีก 350,000 คน และประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ ได้แก่กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม นอกจากการถ่ายทอดสดหลักสูตรมัธยมศึกษาแล้ว สถานีวิทยุโทรทัศน์ฯ วังไกลกังวล ยังทำการถ่ายทอดรายการการศึกษาชุมชน หลักสูตรวิชาชีพของวิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล (ระยะสั้นและปกติ จนถึง ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตวังไกลกังวล และรายการของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในเรื่องเกี่ยวกับรายการต่างๆ และการดำเนินการของสถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานคำแนะนำ และพระราชทานรายการชื่อ “ศึกษาทัศน์” ออกอากาศทุกวัน ยิ่งไปกว่านั้น สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมวังไกลกังวล ยังเป็นที่ฝึกงานของนักศึกษาปีสุดท้าย และนักศึกษาฝึกหัดจากสถาบันต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สถาบันราชภัฏ
ต่างๆ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาลัยนานาชาติ ชิลเลอร์ สแตมฟอร์ด หัวหิน
2. หลักการและเหตุผล
2.1 การสร้างคนหรือที่เรียกกันว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development)โดยการลงทุนในด้านการศึกษาเป็นการพัฒนาประเทศให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างแท้จริงที่ยั่งยืน
2.2 ตามมติ ครม ที่ นร 0215/ว(ล) 14482 ลว. 1 ธ.ค. 38 เห็นชอบในหลักการโครงการการศึกษาสายสามัญด้วยระบบทางไกลผ่านดาวเทียม ซึ่งได้เริ่มดำเนินการโดยกรมสามัญศึกษาร่วมมือกับ นายขวัญแก้ว วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวังฝ่ายกิจกรรมพิเศษ โดยมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ส่งสัญญาณดาวเทียมเป็นครั้งแรกในวันที่ 5 ธ.ค. 2538 เพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ 50 ปี ได้พระราชทานทุนประเดิม 50 ล้านบาท ที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ทูลเกล้าถวายและบริษัท ชินวัตรฯ ทูลเกล้าถวายอีก 20 ล้านบาท เพื่อจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ณ โรงเรียนวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำหรับงบประมาณดำเนินการในปีงบประมาณ 2539 ได้รับอนุมัติงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นในวงเงิน 125 ล้านบาท สำหรับปีงบประมาณ 2540 ได้รับเงินอุดหนุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน รวมเป็นงบประมาณค่าใช้จ่ายที่ได้รับทั้งสิ้นตั้งแต่ปี 2539-2544 จำนวน 1,340,083,900 บาท เพื่อติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียมให้ครอบคลุมทุกโรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา 2,668 โรงเรียน เป็นการเฉลิมพระเกียรติในมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุครบ 6 รอบ
2.3 เพื่อดำเนินโครงการเฉลิมพระเกียรติต่อเนื่องในมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ และเพื่อแก้ไขสถานการณ์ที่มีเด็กอายุ 12 ปี จำนวน 3 ล้านคนที่จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนประถมศึกษาประมาณ 37,000 แห่งทั่วประเทศและไม่สามารถเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาได้เพราะไม่มีโรงเรียนมัธยมศึกษาเพียงพอที่จะรองรับและเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติปฏิรูปการศึกษา ที่ระบุนโยบายของรัฐในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานฟรี 12 ปี ในปีงบประมาณ 2545 สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ และมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม จะร่วมกันดำเนินโครงการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมชั้นมัธยมศึกษาสายสามัญให้แก่โรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ชั้น ม.1-3 จำนวน 3,000 โรงเรียนต่อปี เป็นระยะเวลา 10 ปี จนถึง พ.ศ. 2554 และจะได้ทยอยขยายให้ถึงชั้น ม.4-6 ต่อไป โครงการโรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาสทั่วประเทศโดยใช้วิธีถ่ายทอดหลักสูตรมัธยมศึกษาสายสามัญผ่านดาวเทียม ในภาพรวมอาจแบ่งเป็น
2.3.1 โครงการขยายโอกาสโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 30,000 โรงเรียน ปีละ 3,000 โรงเรียน ภายใน 10 ปี ให้มี ม.1- ม.6 แบ่งเป็น 2 ระยะ กล่าวคือ ระยะที่ 1 ม.1-ม.3 และ ระยะที่ 2 ม.4-6 โดยติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียมครั้งละ 3 ชั้นเรียน เพื่อประหยัดแรงงานและงบประมาณในการติดตั้ง
2.3.2 โครงการขยายโอกาสโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 6,900 โรง ที่สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ได้ขยายถึง ม.3 แล้วให้ถึง ม.6 ด้วยการใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
.3.3โรงเรียนประถมศึกษาเอกชนที่ขาดทุนทรัพย์และต้องการรับการถ่ายทอดสดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมหลักสูตรมัธยมศึกษา
2.4 หากจะขยายการศึกษาระดับมัธยมศึกษาให้เพียงพอที่จะรองรับเด็กนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อายุ 12 ปี จำนวน 3 ล้านคน(ข้อมูลจาก อดีต รมว.ศธ.สุขวิช รังสิตพล) ตามเกณฑ์ของกระทรวงศึกษาธิการ ก็คงขยายได้ปีละ 100 โรงเรียน และเพิ่มจำนวนนักเรียนได้เพียงปีละ 10,000 คน จะต้องใช้ระยะเวลาถึง 300 ปี ซึ่งอนาคตของชาติและอนาคตของเยาวชนอายุ 12 ปี ที่จบประถมศึกษาและไม่มีโรงเรียนระดับมัธยมเรียนต่อจะต้องเสี่ยงกับปัญหายาเสพติด และปัญหาสังคมอื่นๆรอบด้าน ทั้งจะเป็นประชาชนที่ด้อยคุณภาพอีกด้วย
2.5 สำหรับการติดตั้งอุปกรณ์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมที่โรงเรียนประถมศึกษาทั้งหมดพร้อมจะรับการถ่ายทอดสดหลักสูตรมัธยมศึกษาสายสามัญผ่านดาวเทียมจากโรงเรียนวังไกลกังวลนั้น กองทัพบกยินดีให้ความร่วมมือโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายอีกทั้งมูลนิธิฯสามารถจัดซื้ออุปกรณ์ในราคาที่บริษัทที่ผลิตลดให้ในราคาพิเศษเป็นการเฉลิมพระเกียรติต่อเนื่อง ซึ่งนับว่าเป็นการประหยัดงบประมาณและเวลาในการติดตั้งปีละ 3,000 โรงเรียน เป็นเวลา 10 ปี เพื่อสอดคล้องกับนโยบาย
การปฏิรูปการศึกษาให้สัมฤทธิ์ผลรวดเร็วยิ่งขึ้น
3. วัตถุประสงค์
ระยะที่ 1 ปีงบประมาณ 2539-2545
3.1.เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครู อุปกรณ์ คู่มือและตารางการเรียนการสอน รวมถึงการแก้ปัญหามาตรฐานของสถานศึกษาที่ไม่เท่าเทียมกัน โดยเฉพาะเขตเมืองและชนบทห่างไกลจึงได้ติดตั้งอุปกรณ์สัญญาณดาวเทียมให้โรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดกรมสามัญศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6
ระยะที่ 2 ปีงบประมาณ 2545-2554
3.2.ขยายการศึกษาระดับประถมศึกษาทั่วประเทศให้ได้รับการศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย (ม.1-ม.6)
4. เป้าหมาย
4.1 ปรับปรุงเครื่องมือเครื่องใช้ของสถานีวิทยุโทรทัศน์ฯ ณ โรงเรียนวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งดำเนินการมาเป็นปีที่ 6แล้ว เครื่องมือเครื่องใช้ครบกำหนดอายุใช้งาน จำเป็นจะต้องรับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามข้อกำหนด
4.2 ขยายการติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียมสำหรับชั้นมัธยมศึกษาตั้งแต่ ม.1 ถึง ม.6 ให้ครอบคลุมทุกโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ เป็นการเฉลิมพระเกียรติต่อเนื่อง

4.3 กำลังดำเนินการขยายการออกอากาศภาคภาษาอังกฤษสำหรับประเทศเพื่อนบ้านที่ได้รับ พระราชทานอุปกรณ์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เมื่อปี พ.ศ. 2543 และผู้ที่สนใจภาษาอังกฤษ
5. การดำเนินงาน
5.1 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการจัดการศึกษาด้วยระบบทางไกลผ่านดาวเทียมที่เกี่ยวข้องร่วมกันรับผิดชอบในการดำเนินงาน ดังนี้
5.1.1. กระทรวงศึกษาธิการ กรมสามัญศึกษาโดยมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมรับผิดชอบในระดับมัธยมศึกษา ถ่ายทอดสดหลักสูตรมัธยมศึกษาสายสามัญผ่านดาวเทียมซึ่งมีการติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียมให้ ครบทุกโรงเรียนจำนวน 2,668 โรงเรียน โดยติดตั้งชั้นละ 1 ห้องเรียน
5.1.2. กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติขอความร่วมมือจากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในการต่อยอดโรงเรียนประถมศึกษา ให้ขยายเป็น ม.1-ม.3 และม.4-ม.6 โดยใช้วิธีถ่ายทอดสดหลักสูตรมัธยมศึกษาสายสามัญผ่านดาวเทียมจากโรงเรียนวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน และมูลนิธิฯ จัดส่งคู่มือครูและตารางการเรียนการสอนไปให้โรงเรียนปลายทางล่วงหน้าก่อนเปิดเทอม
5.1.2.1 โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 30,000 โรงเรียน ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติยังไม่ได้ขยายโอกาส จะเริ่มใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมสำหรับชั้น ม.1- ม.6 แบ่งเป็น 2 ระยะ กล่าวคือ ระยะที่ 1 ม.1-ม.3 และ ระยะที่ 2 ม.4-ม.6 โดยติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียมครั้งละ 3 ชั้นเรียน
5.1.2.2 โรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาส จำนวน 6,900 โรงเรียน ที่สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติได้ขยายแล้วถึง ม.3 จะใช้การศึกษาทางไกลผ่าน
ดาวเทียมขยายให้ถึง ม.6
5.1.3. กระทรวงศึกษาธิการ โดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท) รับผิดชอบในการผลิตหลักสูตรสื่อการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี จะเริ่มดำเนินการวางแผนอบรมครูและจัดทำโปรแกรม วิธีการ ตลอดจนผลิตหลักสูตร สื่อการเรียนการสอนออกอากาศโดยผ่านระบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมให้ครอบคลุมทั่วประเทศ
5.1.4. หน่วยงานอื่นๆ ที่พร้อมให้ความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอนด้านการศึกษา ชุมชน อาทิ วิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตวังไกลกังวล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีในจังหวัดต่างๆ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ฯลฯ

5.1.5 ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานคำแนะนำต่างๆ เกี่ยวกับการติดตั้งอุปกรณ์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมที่โรงเรียนปลายทาง เช่น การจัดแสงสว่างภายในห้องเรียน การติดตั้งเครื่องรับโทรทัศน์ในสัดส่วนที่เหมาะสมกับจำนวนนักเรียน และในตำแหน่งที่เหมาะสมซึ่งจะช่วยลดปัญหาแสงสะท้อนบนจอเครื่องรับโทรทัศน์ได้ รวมทั้งการจัดส่งตารางสอนและคู่มือครูการสอนทางไกลให้ถึงโรงเรียนปลายทางก่อนเปิดเทอมโดยไม่คิดมูลค่า นอกจากนี้ ได้พระราชทานรายการพิเศษชื่อ “ศึกษาทัศน์”
5.1.6. หน่วยงานต่างๆ ที่ให้ความร่วมมือและการสนับสนุน
- กองทัพบก ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียมให้กับโรงเรียนปลายทางทั่วประเทศ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ค่าติดตั้ง ค่าขนส่ง ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ
- องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือไม่คิดค่าบริการโทรศัพท์และ โทรสาร จำนวน 4 เลขหมาย และค่าเช่าสายเคเบิ้ลใยแก้วจากสถานีส่งโรงเรียนวังไกลกังวลหัวหิน ถึงสถานีดาวเทียมภาคพื้นดินที่ลาดหลุมแก้ว 2 ชุด (ทางบก-ทางทะเล) เป็นการโดยเสด็จพระราชกุศล
- การสื่อสารแห่งประเทศไทย ไม่คิดค่าบริการโทรศัพท์และโทรสารระหว่างประเทศในการติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน วันละ 1 ชั่วโมง สำหรับรายการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมภาคภาษาอังกฤษ
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำนวยความสะดวกในเรื่องไฟฟ้า
- กระทรวงศึกษาธิการ จัดครู อาจารย์ ประจำวิชามาร่วมสอนออกอากาศ
- บริษัทที่ผลิตเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม IRD ลดราคาพิเศษเพื่อเฉลิมพระเกียรติต่อเนื่อง
5.1.7 ในด้านความร่วมมือกับต่างประเทศ มูลนิธิฯ ได้ร่วมมือกับกระทรวง
การต่างประเทศ องค์การสหประชาชาติ อาทิ UNESCO , FAO , SEAMEO และมหาวิทยาลัยต่างๆ อาทิ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งอธิการบดีเป็นประธานโครงการมหาวิทยาลัยเสมือนจริงแห่งลุ่มแม่น้ำโขง ในกรอบของ SEAMEO ซึ่งครอบคลุม 6 ประเทศ ได้แก่ จีน(คุนหมิง) กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม เนื่องจากกิจกรรมการดำเนินงานของมูลนิธิฯเป็นที่รู้จักและยอมรับในต่างประเทศ จึงมีผู้แทนจากหน่วยราชการต่างประเทศ เอกอัครราชทูต ผู้แทนสถานทูต ตลอดจนผู้บริหารระดับสูงของเอกชนต่างประเทศมาขอศึกษาดูงานที่สถานีวิทยุโทรทัศน์ฯ วังไกลกังวล อาทิ ผู้แทน JICA ญี่ปุ่นที่ประจำลาวและกัมพูชา ประธาน Nippon Foundation ประธานบริษัท อาซาฮีกลาส Executive Director ของ Sasakawa Peace Foundation ประเทศญี่ปุ่น และผู้บริหารจากบริษัทมิตซุย บริษัทโซนี่ เอกอัครราชทูตเยอรมนี เอกอัครราชทูตพม่า เอกอัครราชทูตจีน ที่ปรึกษาสถานทูตลาว ผู้แทนสถานทูตญี่ปุ่น และเวียดนาม และสื่อมวลชนต่างประเทศ อาทิ NHK ของญี่ปุ่น และCNN จากสหรัฐอเมริกา ฯลฯ ในส่วนของฝ่ายไทย คณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร และกรรมาธิการการศึกษาและ วัฒนธรรม วุฒิสภา ตลอดจนอดีตนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการและ ผู้บัญชาการทหารบก ได้มาเยี่ยมชมการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม ณ โรงเรียนวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน
5.1.8 มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมได้รับคำขอและการสนับสนุนจากมูลนิธิ ซาซากาวา (The Sasakawa Peace Foundation) ประเทศญี่ปุ่น ให้จัดการฝึกอบรมด้านทรัพยากรมนุษย์เรื่องการจัดการและเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมให้แก่สี่ประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ถึง 2 ครั้ง ทั้งระดับผู้บริหารและระดับปฏิบัติการ ในเดือนมกราคมและพฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2543 ที่สถานีวิทยุโทรทัศน์ฯ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
5.1.9 สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลของมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม มีรายการทางการศึกษาจำนวน 6 ช่อง คือ ช่อง11 , 12 , 13 , 14 , 15 ,16 ออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง และกำลังดำเนินการจัดช่องออกอากาศอีก 1 ช่อง เป็นรายการภาคภาษาอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2545 ให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านทั้ง 4 ประเทศ กล่าวคือ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ที่ได้รับพระราชทานอุปกรณ์การศึกษาทางไกลจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประเทศละ 6 ชุด เมื่อครั้งมาฝึกอบรมที่สถานีวิทยุโทรทัศน์ฯ วังไกลกังวลฯ หัวหิน ในกรณีของเวียดนามนั้นได้รับพระราชทานไปก่อนหน้านี้ ในปี พ.ศ. 2541 6 ชุด ได้นำไปติดตั้งที่ Industrial Technical and Economic Junior College No.1 ณ กรุงฮานอย ส่วนที่ได้รับพระราชทานในปี พ.ศ. 2543 อีก 6 ชุด ได้นำไปติดตั้งที่ Hanoi Open University รวมเป็น 12 ชุด ปรากฏผลว่า ได้นำไปใช้เป็นประโยชน์โดยเฉพาะเรื่องการศึกษาชุมชน ภาษาต่างประเทศ และศิลปวัฒนธรรม ส่วนลาวได้นำไปติดตั้ง 5 จุด ณ กรมการศึกษานอกโรงเรียน ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน กม.8 โรงเรียนบำรุงวัฒนธรรมกระทรวงภายในหลัก 67 โรงเรียนเด็กกำพร้ากระทรวงภายในหลัก 62 และแผนกศึกษาแขวงบ่อแก้ว ส่วนกัมพูชาและพม่ากำลังดำเนินการ
5.1.10 ในเดือนมิถุนายน 2544 ศ.ดร.บุญเตียม พิดสะไหม รัฐมนตรีประจำสำนักนายก รัฐมนตรี ประธานสภามหาวิทยาลัยแห่งประเทศลาวและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ
เจ้าหน้าที่กรมสามัญศึกษาลาว ได้มาเยี่ยมชมกิจการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมที่โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 27 จังหวัดหนองคาย และโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษาซึ่งใช้การเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมหลายโรงเรียน ศ.ดร.บุญเตียม ได้ทดลองติดต่อทางโทรศัพท์กับสถานีวิทยุโทรทัศน์ฯ วังไกลกังวล และร่วมในการประชุมทางโทรทัศน์ (TV Conference) กับโรงเรียนปลายทางที่จังหวัดปัตตานีและจังหวัดศรีสะเกศด้วย
5.2 ระยะเวลาดำเนินงาน ปี 2545-2554
6.ผลที่คาดว่าจะได้รับ
6.1 เป็นการสร้างอนาคตทางการศึกษาให้แก่เยาวชนของชาติให้มีโอกาสเรียนการศึกษาภาคบังคับขั้นพื้นฐานฟรี 12 ปี ตามพระราชบัญญัติปฏิรูปการศึกษา ในการแก้สภาวะการณ์ที่โรงเรียนมัธยมศึกษาไม่เพียงพอที่จะรองรับนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ขาดแคลนภายใน 10 ปี การใช้การถ่ายทอดสดหลักสูตรมัธยมศึกษาสายสามัญผ่านดาวเทียมเป็นการประหยัดงบประมาณและมีกำหนดเวลาที่แน่ชัด
6.2 เป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรครูมัธยมศึกษาที่มีอยู่ไม่เพียงพอ ไม่ว่าจะเป็น สัดส่วนครูต่อนักเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ และโรงเรียนที่อยู่บริเวณชายแดน มีนักเรียน 1,000 คน ต่อครู 20 คน ขณะที่ครูมัธยมในอำเภอต่างๆ มี 70-100 คน (วุฒิปริญญาตรีถึงปริญญาโท) ต่อนักเรียน 1,000 คน ในโรงเรียนมัธยมประจำจังหวัดมีครู 185-200 กว่าคน (วุฒิปริญญาตรีถึงปริญญาเอก) ต่อนักเรียน 3,800 คน ถึง 4,000 กว่าคน
6.3 เป็นการแก้ปัญหาความขาดแคลนงบประมาณ ครูผู้สอน เครื่องมืออุปกรณ์การเรียนการสอนตลอดจนห้องเรียนให้เพียงพอกับความต้องการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 มีครูลาออกก่อนเกษียณอายุจำนวนประมาณ 40,000 คน งบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนถูกตัดมากมาย ถ้าสร้างให้ครบตามเกณฑ์กระทรวงศึกษาธิการ ก็คงต้องใช้ระยะเวลาไม่รู้กี่ปี จากการจัดการเรียนรวม ก็สามารถใช้การเรียนการสอนตามคู่มือและตารางการเรียนการสอนของโรงเรียนวังไกลกังวล ซึ่งมูลนิธิฯ จัดพิมพ์และส่งไปยังโรงเรียนปลายทางโดยไม่คิดมูลค่า
6.4 การถ่ายทอดสดหลักสูตรมัธยมศึกษาสายสามัญผ่านดาวเทียมจากโรงเรียนวังไกลกังวล ซึ่งเป็นโรงเรียนราษฎร์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยมีการจัดการเรียนการสอนเนื้อหาวิชาเดียวกัน เวลาเดียวกัน มาตรฐานและคุณภาพเดียวกันระหว่างโรงเรียนในเมืองและโรงเรียนในชนบท
6.5 การถ่ายทอดรายการการศึกษาชุมชนผ่านดาวเทียมไปถึงระดับตำบล อำเภอ และจังหวัดต่างๆไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรวิชาชีพ (ระยะสั้น ปกติ และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.)) ที่วิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวลรับผิดชอบ หรือ หลักสูตรอุดมศึกษาที่สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตวังไกลกังวล และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชรับผิดชอบสอนออกอากาศทุกวัน เป็นการศึกษาชุมชนที่ทำให้ครอบครัวและหมู่บ้านไกลคมนาคมมีโอกาสได้เพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการและวิชาชีพ เป็นการสร้างคุณภาพชีวิตและเพิ่มพูนรายได้
6.6 การถ่ายทอดสดหลักสูตรมัธยมศึกษาทั้ง 6 ชั้นเรียน ทางสถานีโทรทัศน์จำนวน 6 ช่อง ตลอด 24 ชั่วโมงไปยังโรงเรียนมัธยมในสังกัดกรมสามัญศึกษาทั่วประเทศประมาณ 2,700 โรงเรียน ตลอดจนโรงเรียนเอกชน โรงเรียนพระปริยัติธรรม และโรงเรียนอื่นๆประมาณ 300 แห่ง รวมกว่า 3,000 โรงเรียน ตลอดจนการถ่ายทอดรายการการศึกษาชุมชน สรุปได้ว่าการถ่ายทอด 24 ชั่วโมง ทาง UBC ช่อง 11-16 นั้น ครอบคลุมสมาชิก UBC อีก 350,000 คน และประเทศเพื่อนบ้านอีก 4 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา พม่า ลาว และเวียดนาม ซึ่งได้รับพระราชทานอุปกรณ์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เท่ากับได้รับพระราชทานการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ในปี 2545 มูลนิธิฯ กำลังจะจัดทำรายการการศึกษาทางไกลภาคภาษาอังกฤษให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน และผู้ที่สนใจในภาคภาษาอังกฤษ สรุปว่ากิจกรรมทั้งหมดก็คือการส่งเสริมการศึกษาในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย ทั้งด้านวิชาการ วิชาชีพ คุณภาพ จริยธรรม และการศึกษาตลอดชีวิต
6.7 ความสามารถในการโต้ตอบสื่อสาร 2 ทาง (interactive)ในลักษณะ TV conference ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนและครูโรงเรียนปลายทางกับโรงเรียนต้นทาง ติดต่อซักถาม สอบถามปัญหา หรือข้อสงสัยได้ทันที ทางโทรศัพท์และโทรสาร 4 เลขหมายโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เท่ากับเป็นการพัฒนาครูต้นทางและปลายทางไปพร้อมๆกัน และเป็นการปรับปรุงยกระดับครูตลอดจนผู้บริหารอีกด้วยในอนาคตเมื่อมีโทรศัพท์จัดตั้งระบบที่เห็นภาพผู้ที่อยู่ต้นทางและปลายทาง ทางโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมก็สามารถถ่ายทอดออกมาทางจอภาพโทรทัศน์ได้เช่นกัน
หมายเหตุ
1. การที่มูลนิธิฯ ไม่ได้ระบุว่าสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.) มีความจำเป็นที่จะต้องมีการสอนสดผ่านดาวเทียมตั้งแต่ ป.1 ถึง ป.6 จำนวน 30,000 โรงเรียน เพราะ สปช เป็นต้นสังกัดของโรงเรียนประถมศึกษาเหล่านั้นอยู่แล้ว และสิ่งที่คงขาดและมีความต้องการให้มูลนิธิฯสนับสนุนให้ได้รับการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับมัธยมขึ้นไป คือ ม.1 ถึง ม.6 สำหรับ 6,900 โรงเรียน ที่ได้ขยายถึง ม.3 ก็จะได้ขยายไปถึง ม.4-5-6
2. มูลนิธิฯ มุ่งเน้นที่จะแก้ปัญหาการขาดแคลนครูระดับมัธยม แต่ในอนาคตถ้ามีการขาดแคลนครูในชั้นประถม มูลนิธิฯก็สามารถที่จะช่วย สปช. ได้ด้วยการขอจัดตั้งสถานีวิทยุการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ระดับประถมศึกษาเพิ่มขึ้นอีก 6 ชั้นเรียน (ในอนาคตอาจจะมีครูลาออกก่อนเกษียณเพิ่มขึ้นและจะประสบการขาดแคลนครูประถมศึกษาเช่นเดียวกับครูระดับมัธยม)

ที่มา http://forum.thaiza.com

วันเสาร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2553

ประวัติ

นายนริศร ณ ลำปาง เกิดวันที่ 4 ตุลาคม 2515 ปัจจุบันอายุ 38 ปี
ภูมิลำเนาเกิด 26/1 หมู่ 6 ตำบลบ้านกลาง อำเภอสอง จังหวัดแพร่
ที่อยู่ปัจจุบัน 14/19 ถนนเจริญประเทศ ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมืองลำปาง
ประวัติการศึกษา
ระดับประถมศึกษา
-โรงเรียนชุมชนบ้านกลาง อำเภอสอง จังหวัดแพร่
ระดับมัธยมศึกษา
-โรงเรียนบุญยวาทย์วิทยาลัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
ระดับปริญญาตรี
-ปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิต(พลศึกษา) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปัจจุบัน
-กำลังศึกษาต่อ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
(ศูนย์จังหวัดลำปาง )
กิจกรรมระหว่างการศึกษา
พ.ศ. 2535 - ประธานชมรมกรีฑา สโมสรนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พ.ศ.2536 - ประธานกีฬากลาง สโมสรนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พ.ศ. 2537 - กรรมการกีฬากลาง สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2538 - ผู้สื่อข่าวกีฬาหนังสือพิมพ์ข่าวสยาม จังหวัดเชียงใหม่
- ผู้สื่อข่าวกีฬา(พิเศษ)หนังสือพิมพ์สยามกีฬา(รายวัน) ทำหน้าที่ติดตามและนำเสนอข่าวการการเตรียมการและการจัดการแข่งขันการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 18 ณ จังหวัดเชียงใหม่

1 เมษายน 2539 – 30 กันยายน 2541
- เจ้าหน้าที่โครงการส่งเสริมกีฬาเพื่อสุขภาพมวลชน ประจำ
สำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทย จังหวัดน่าน
1 ตุลาคม 2541 – 30 กันยายน 2547
- ตำแหน่งผู้ช่วยปฏิบัติงานศูนย์การกีฬาแห่ง
ประเทศไทย จังหวัดแพร่
1 ตุลาคม 2547
- พนักงานส่งเสริมกีฬา ระดับ 3
การกีฬาแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานครฯ
1 กุมภาพันธ์ 2548
- นักพัฒนาชุมชน ระดับ 3
สำนักงานเทศบาลตำบลสอง อำเภอสอง จังหวัดแพร่
1 กุมภาพันธ์ 2549
- นักวิชาการศึกษา คศ. 1
สำนักงานเทศบาลตำบลสอง อำเภอสอง จังหวัดแพร่
1 มีนาคม 2550
- นักวิชาการศึกษา ระดับ 4 กองการศึกษา
สำนักงานเทศบาลเมืองเขลางค์นคร อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

ปัจจุบัน -นักวิชาการศึกษา ระดับ 5 กองการศึกษา
สำนักงานเทศบาลเมืองเขลางค์นคร อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง


การศึกษาดูงานต่างประเทศ
พ.ศ. 2546
- ศึกษาดูงานการบริหารจัดการสนามกีฬา ( เกาะลังกาวี) ณ ประเทศมาเลเซีย
พ.ศ. 2547
- ปฏิบัติงานเป็นผู้ควบคุมนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันกีฬาศาสนสัมพันธ์เพื่อสันติภาพโลก ครั้งที่ 2 ณ สาธารณรัฐเกาหลีใต้

วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553

การเอาชนะใจตนเอง

ชนะอะไรก็ไม่สู้ชนะใจตัวเอง

เคยเป็นไหม บางครั้งเราต้องฝืนใจตัวเองทำอะไร หรือฝืนใจตัวเอง
ไม่ให้คิดอะไร เพราะว่าหลายๆสิ่งที่เราคิด และกระทำตามหัวใจที่สั่งงาน
นั้นมันผิดต่อศีลธรรม มันผิดต่อความเป็นจริงๆ และที่สำคัญ มันกลาย
เป็นเรื่องที่บั่นทอดความรู้สึกของตัวเอง มันเป็นอาวุธ หรือเข็มเล็กๆ
แหลมๆ ที่คอยทิ่มแทงความคิด จิตใจของเราตลอดเวลา

มีหลายครั้ง ที่เราพยายามไม่คิด ไม่สนใจ แต่ครั้น เราว่าง เจ้าความค ดที่
เราไม่อยากนึกถึง ก็แล่นเข้ามาในหัวสมอง โดยไม่ต้องบังคับ หรือนั่งนึก
แต่อย่างใด มันเหมือนศัตรูร้าย ของหัวใจ มันเหมือนวิญญาณร้าย ที่คอย
ตามมาหลอกหลอนชีวิตเรา ความรู้สึกนึกคิด ที่เกิดขี้น ทำให้อะไรหลายๆ
อย่างในชีวิต เป็นไปแหง่ลบมากกว่าแหง่บวก

ครั่นคุณพยายาม ที่จะเขี่ยความคิดที่เกิดจากจิตใจนี้ ออกไปจากหัวสมอง
ให้เร็วที่สุด มันก็กลับกลายเป็นว่า เป็นเรื่องยากเย็นมาก ยิ่งเราต องการจะ
หยุดความคิดต่างๆออกไปเร็วเท่าใด มันก็ยิ่งใช้เวลานานมากเท่านั้น และมันก็
จะทรมานมากขึ้นเมื่อเจ้าความคิดนั้นไม่ยอมออกไปจากตัวของเรา

มันคงไม่ใช่เรื่องง่ายที่เราจะทำ แต่มันไม่ใช่เรื่องที่ เป็นไปไม่ได้ ทุกอย่างๆ
ที่จะเกิดขึ้นได้ ขึ้นอยู่กับตัวของคุณผู้เดียว คนอื่นๆที่อยู่รอบข้างตัวคุณ
เป็นเพียงแค่องค์ประกอบ เขาเหล่านั้นเป็นแค่ผู้ช่วยของคุณ แต่ถ้าคุณไม่
คิดจะทำอะไรเลยกับค ามคิดที่มันบั่นทอดความรู้สึกของคุณนั้น เขาเหล่านั้น
ก็คงจะช่วยอะไรคุณไม่ได้มากไปกว่า ให้กำลังใจ และรับฟังเมื่อคุณคิดที่จะ
ระบายให้เขาฟัง แต่ถ้าคุณคิดว่ามันเป็นอะไรที่บอกใครไม่ได้ เขาเหล่านั้น
ก็คงทำได้แค่เพียง หยิบยื่นกำลังใจให้คุณได้ต่อสู้กับใจของคุณ เป็นกำลัง
ให้คุณได้ขับไล่ปีศาจออกไปจากใจคุณ ให้ได้เร็ววันเท่านั้น

คุณว่าไหม จริงๆแล้วมันทำไม่ยากเลย เพราะว่าถ้าพูดไปแล้ว มันก็ค อการที่
คุณจะต้องบังคับตัวคุณ และเอาชนะจิตใจคุณ ที่มันกำลังจะทำให้คุณอยู่เหนือ
ความผิดชอบชั่วดี แต่กระนั้นก็ดี การพูดจาทำได้ง่ายดายนัก แต่ถ้ามามองกัน
ที่การกระทำเล่า? มันไม่ได้ง่ายเหมือนที่พูดออกมาเลย

การที่เราจะเอาชนะใจใครมันเป็นเรื่องที่ทำได้ ไม่ยากนัก แต่การที่จะเอาชนะใจ
ของตัวคุณเองนี่สิ มันเป็นเรื่องยากนัก แต่เมื่อไรที่คุณทำมันได้ คุณจะเป็น
ผู้ที่ถูกยกย่อง และตัวของคุณ องนั้นแหล่ะ ที่จะได้รับผลที่จะเกิดขึ้นทั้งหมด
คุณจะรู้สึกว่าโล่งใจ และสบายใจ อะไรๆในชีวิตก็จะดีขึ้น เพราะคุณได้ขับไล่
เจ้าปีศาจชั่วร้ายออกไปจากชีวิตของคุณแล้ว
เชื่อว่าทุกคน ไม่อยากที่จะพ่ายแพ้แก่ใจของตัวเอง เมื่อคุณได้รับรู้ว่า
จิตใจของคุณกำลังคิด พยายามสั่งให้ทำอะไรที่มันเป็นไปไม่ได้ หรือได้ชื่อ
ว่าเป็นสิ่งผิดแล้ว คุณคงไม่ปล่อยให้จิตใจนั้นมาครอบง่ำคุณ คุณคงไม่ยอม
ให้ปีศ จร้ายมาเป็นนายคุณแน่นอน

และเชื่อว่าทุกๆคนต้องการที่จะขับไล่สิ่งชั่วร้าย ที่บั่นทอดจิตใจของคุณ
ออกไป และมันไม่ใช่สิ่งง่าย แต่ถ้าคุณตั้งใจที่จะทำ แล้วไม่ท้อแท้ ฉันเชื่อว่า
สักวันหนึ่ง คุณจะเป็นผู้ชนะ แล้วการที่คุณเอาชนะใจของตัวคุณเองได้นั้น
เป็นการชนะที่ถือว่าสุดยอด แห่งการอยู่รอดของมนุษย์แน่นอน เพราะชีวิต
ของทุกคนถูกกำหนดด้วยมือของคุณเอง การที่ชีวิตเราจะมีสิ่งดีๆ หรือสิ่ง
ายๆเข้ามามากน้อยเพียงใดนั้น คุณนั้นแหล่ะเป็นผู้เลือก คงไม่มีใครที่ไหน
ที่สามารถมาบังคับให้คุณดีใจ หรือเสียใจได้

เมื่อคุณรู้แล้วว่า ตัวของคุณเองเป็นผู้บงการชีวิตแล้ว มันก็คงไม่ยากจนเกิน
ไปที่คุณจะทำอะไรๆที่ดีๆให้กับตัวของคุณเอง ฉันขอให้ทุกๆคนที่ตั้งใจและ
กำลังเอาชนะใจของตัวเอง เพื่อนำสิ่งที่ดีๆเข้ามาสู่ชีวิตทุกคน จงประสบกับ
คำว่าสำเร็จ ขอให้คุณพยายามต่อไป ถึงมันจะยากเย็นสักเพี งใด แต่ขอให้
คุณจงจำไว้ว่า ไม่มีอะไรยากเกินถ้าเราตั้งใจที่จะทำมันจริงๆ และถ้าหาว่าคุณ
เอาชนะใจของคุณเองได้ ชีวิตของคุณก็ได้ชื่อว่าประสบความสำเร็จไปขั้น
หนึ่งแล้วทีเดียว เพราะในอนาคตไม่ว่าคุณจะทำอะไรใดๆ คุณจะทำมันได้อย่าง
ง่ายดาย เพราะคุณได้เคยกระทำสิ่งที่ถือว่ายากมากสำหรับมนุษย์โลกมาแล้ว
ครั้งหนึ่ง นั้นคือ การชนะใจของตนเอง

ลองคิดดูสิ ว่าคุณจะรู้สึกดีแค่ไหน เมื่อคุณรู้ว่า คุณชนะใจคนที่คุณคิดว่าเอาชนะ
ได้ยากที่สุดในโลกแล้ว นั้นคือ ตัวเองคุณเอง ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกๆได้รับรู้
ึความรู้สึกตรงนั้นได้เร็วๆวันนี้ จงพยายามต่อไปนะอย่าท้อถอย สักวันหนึ่ง
มันจะต้องเป็นวันของเราอย่างแน่นอน เชื่อว่าอย่างนั้น

ที่มา http://www.geocities.com/wgate.geo/win-ones-own-hrt.html

วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

นวัตกรรมการสื่อสาร

หัวเว่ยจัดทัพเทคโนโลยีการสื่อสารแห่งอนาคต งาน “GSMA Mobile World Congress 2010”



หัวเว่ยร่วมแสดงเทคโนโลยีการสื่อสารเคลื่อนที่นวัตกรรมใหม่ล่าสุดในงาน “GSMA Mobile World Congress 2010” ณ เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ถึง 18 กุมภาพันธ์ 2553 โดยมี มร. โกว ปิน ประธานฝ่ายการสื่อสาร หัวเว่ย ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ในหัวข้อ “Broadening the Ecosystem through Mobile Broadband” ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ เวลา 11.00 – 12.30 น. (ตามเวลาในประเทศจีน)
ภายในงาน บูธหัวเว่ยสาธิตนวัตกรรมการสื่อสารที่หลากหลาย อาทิ LTE-advanced เทคโนโลยี LTE แรกของโลกที่ให้อัตราความเร็วในการดาวน์โหลดสูงกว่า 600 เมกกะบิตต่อวินาที รวมทั้งนำเสนอโซลูชั่น HSPA+ ที่เร็วที่สุดของโลกในอัตราการดาวน์โหลดสูงกว่า 84 เมกกะบิตต่อวินาที นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้แนะนำโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบแอนดรอยด์ (Android ™-powered terminal devices) รวมทั้งแนะนำโซลูชั่นสำหรับ Core Network ในบริการ ONE Core Solution ที่ผนวกรวมบริการโทรศัพท์พื้นฐานและโทรศัพท์เคลื่อนที่ไว้ด้วยกัน เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารให้คุ้มค่าการลงทุนยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ หัวเว่ยยังจัดแสดงเทคโนโลยี SingleMetro รุ่นใหม่ คือ CX600-x1 และ CX600-x2 ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มให้บริการ IP ที่มีขนาดเล็กกะทัดรัดที่สุด โดยมีความลึกเพียง 300 มม. เทคโนโลยี SingleMetro คือเครือข่ายส่วนกลาง ซึ่งปกติจะแยกเครือข่ายกันเพื่อรองรับการสื่อสารในระบบโทรศัพท์มือถือ, บรอดแบนด์ และเครือข่ายโทรศัพท์ธรรมดา (Mobile, Broadband, Fixed Line) แต่หัวเว่ยพัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถรองรับได้ทุกระบบบน platform เพียงหนึ่งเดียว และยังพัฒนาซอฟต์แวร์ U2520 ที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถของเครือข่าย SingleMetro ให้โดดเด่นในการควบคุมปฏิบัติการและดูแลปรับปรุงเครือข่ายให้สะดวกง่ายยิ่งขึ้นด้วย
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.huawei.com/mobileworldcongress2010.

ที่มา หัวเว่ย เทคโนโลยี่

ข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ
คุณบุศยรินทร์ เสตะจันทน์ปิติ / คุณธิดา ดำรงสุทธิศิลป์

วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

ict กับท้องถิ่น

ICT กับชุมชนเสมือนจริง ความท้าทายในโลกอนาคต

กระบวนการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคโลกาภิวัตน์ได้มีความเจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งในยุคปัจจุบันถือว่าเป็นองค์ประกอบที่เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในชีวิตประจำวันของทุกคน อย่างเช่น โทรศัพท์มือถือ อินเตอร์เน็ต เป็นต้น รวมทั้งเทคโนโลยีอื่นๆที่ทันสมัยได้เข้ามามีบทบาทและส่งผลกระทบต่อผู้คนในยุคปัจจุบันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่สำคัญทำอย่างไรจะให้ผู้คนมีกระบวนการปรับตัวและมีแผนรองรับการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่างไร้ขีดจำกัดในปัจจุบันอย่างรู้เท่าทันและมีภูมิคุ้มกันที่ดี

วันที 30 ตุลาคม 2552 ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมการประชุมระดมความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญระดับสูง(High-level Expert Roundtable) ชุดที่ 1 เรื่อง อนาคตประเทศไทยในปี 2020 : นัยต่อการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT2020) กลุ่มการเมือง/ การปกครอง/การบริหารราชการแผ่นดิน ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯ ที่ได้จัดขึ้นโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งเป็นแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2) ของประเทศไทย พ.ศ. 2552-2556

ในสถานที่ประชุมระดมความคิดเห็นนั้น ได้มีนักวิชาการ นักการเมืองท้องถิ่น ข้าราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เข้าร่วมประชุมหลายท่าน ในที่ประชุมได้มีการนำเสนอภาพรวมของโครงการและภาพอนาคตเบื้องต้น โดย ดร.ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติและหัวหน้าโครงการจัดทำกรอบนโยบาย ICT2020 ได้นำเสนอถึงภาพรวมประเด็นเกี่ยวกับกรอบนโยบาย “อนาคตประเทศไทยในปี 2020 : นัยต่อการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT2020)” ว่าควรมีทิศทางเป็นอย่างไรในอีก 10 ปีข้างหน้า

นอกจากนั้น ยังมีการอภิปรายจุดประกายความคิด โดยนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ นายอาวุธ วรรณวงศ์ จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(กพร.) ดร. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายณฐพล วิเชียรเพริศ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด นายพฤกษ์ พัฒโน รองนายกเทศมนตรี เทศบาลนครหาดใหญ่ เป็นผู้อภิปราย ซึ่งแต่ละท่านได้เสนอมุมมองของICT เชื่อมโยงกับการเมือง การปกครอง และการบริหารราชการแผ่นดิน ไว้หลากหลายประเด็นที่น่าสนใจ โดยมี ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ที่ปรึกษาโครงการและที่ปรึกษาอาวุโส สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นผู้ดำเนินการอภิปาย รวมทั้งการนำเสนอความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุมในประเด็นที่เกี่ยวข้องอีกหลายท่าน

ประเด็นการประชุมโดยสรุปแล้ว กระบวนการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศที่เชื่อมโยงกับการเมืองการปกครองไทยและการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งในยุคปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างหลากหลายช่องทาง เช่น หน่วยงานราชการ ได้มีการพัฒนาเว็บไซด์ที่เป็นของหน่วยงาน รวมทั้งการบริการประชาชนให้มีความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึง และที่สำคัญทำอย่างไรให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการดำเนินงานของภาครัฐ รวมทั้งเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดแผนพัฒนาในด้านต่างๆ ซึ่งดร. พิชญ์ พงศ์สวัสดิ์ ได้เปิดประเด็นไว้อย่างน่าสนใจเกี่ยวกับกระบวนการทำแผนแม่บท ของ ICT ว่า แผนนั้นควรมีหมุดหมายที่ชัดเจนว่า ทิศทางของการนำแผนไปปฏิบัติหรือจุดมุ่งหมายนั้นเป็นอย่างไร นอกจากนั้นยังได้กล่าวถึง กระบวนการที่เรียกว่า สาธารณะ(Public) ประชาสังคม (civil society) รวมทั้งความรับผิดชอบต่อสาธารณะ และการเสริมพลังอำนาจของประชาชน (Empowerment) และควรมีการออกแบบเชิงสถาบันที่รองรับเกี่ยวกับการพัฒนาICTและการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างชัดเจน

และอีกหลายท่านได้เสนอมุมมองที่เป็นประสบการณ์รวมทั้งข้อเสนอแนะไว้หลากหลายประเด็นเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน เรื่อง E-Governance และประเด็นเกี่ยวกับท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะต้องมีการรองรับการถ่ายโอนภารกิจจากส่วนกลาง เนื่องจากมีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น กระบวนการนำ IT มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาท้องถิ่นในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจชุมชน วิสาหกิจชุมชน และการเมืองท้องถิ่น รวมทั้งประเด็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งซึ่ง รศ.สมชัย ศรีสุทธิยากร จากมูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย ได้นำกรณีเกี่ยวกับการเลือกตั้งของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งประเทศญี่ปุ่นได้นำระบบการเลือกตั้งแบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้

ผู้เขียนในฐานะนักวิชาการอิสระที่ได้รับเกียรติเข้าร่วมประชุมระดมความคิดเห็นมีความเห็นด้วยกับแนวคิดและข้อเสนอแนะจากหลายๆท่านที่ได้นำเสนอในที่ประชุม ในที่นี้ผู้เขียนขอนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนา ICT ทางด้านการเมือง การปกครอง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้เขียนใคร่ที่จะนำเสนอประเด็นที่นอกเหนือจากผู้เข้าร่วมประชุมเสนอไว้ ดังต่อไปนี้ คือ

ประเด็นเกี่ยวกับ การพัฒนาICT ของภาคประชาชน หรือภาคประชาสังคม การพัฒนาประชาธิปไตยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการเมือง การปกครองไทย ปัจจุบัน ระบบสารสนเทศหรือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เช่น อินเตอร์เน็ต เว็บไซด์ การสื่อสารที่ทันสมัยผ่านระบบมือถือ หรือระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียมที่สามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ประเด็นที่ผู้เข้าร่วมประชุมได้นำเสนอส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับ การใช้เทคโนโลยีของภาครัฐ E-Governace ซึ่งได้เห็นมุมมองการบริหารงานของภาครัฐและการพัฒนา IT ของภาครัฐเพื่อบริการประชาชน และบางท่านได้นำเสนอเกี่ยวกับ ICT ชุมชนซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย

ประเด็นเกี่ยวกับ ICT ที่เป็นของภาคประชาชน (PO) หรือภาคประชาสังคม และองค์กรที่ไม่ใช่ภาครัฐ (NGO) ที่ได้มีการเปิดพื้นที่สาธารณะทางด้านการเสนอความคิดและการพัฒนาประเทศ รวมทั้งกระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจของภาครัฐ ซึ่งถือว่าเป็นพลังที่สำคัญในการช่วยให้การพัฒนาประชาธิปไตยและการบริหารภาครัฐได้มีการยึดหลักการบริหารจัดการที่ดี หรือหลักธรรมาภิบาล ซึ่งผู้เขียนได้เข้าไปค้นหาเว็บไซด์ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรภาคประชาชน ภาคประชาสังคม รวมทั้งกลุ่มองค์กรชุมชน และภาคองค์กรพัฒนาเอกชน ที่ได้จัดทำเป็นเว็บไซด์ ซึ่งถือว่าเป็นเว็บทางเลือกของภาคประชาชน ที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประชาธิปไตย รวมทั้งการเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงานของภาครัฐ มีหลายเว็บไซด์ที่ได้มีข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อภาคประชาชน ซึ่งนอกเหนือจากเว็บไซด์ของรัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐที่ให้ข้อมูลข่าวสาร และนโยบายการพัฒนาประเทศ รวมทั้งเว็บไซด์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งบางแห่งได้มีการจัดทำอย่างเป็นระบบและสามารถให้ประชาชนได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างสะดวก ซึ่งถือเป็นการบริหารตามหลักความโปร่งใสและเน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนเป็นหลัก ถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)มาเป็นเครื่องมือหลักในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลชุมชน ข้อมูลข่าวสารของ อปท. ทั้งข้อมูลด้านการบริหาร ข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมาย ข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนา ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง และการให้ประชาชนร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องทุจริตผ่านทางช่องทางอินเตอร์เน็ตหรือเว็บไซด์ของ อปท. เป็นต้น

ภาพของกระบวนการพัฒนา IT ของท้องถิ่นในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า ถ้าหากว่า ICT ได้มีแผนแม่บทที่ชัดเจนในการพัฒนารวมทั้งกระบวนการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ รวมทั้งสนับสนุนด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพและวางระบบฐานข้อมูลที่มีความถูกต้อง รวมทั้งกระบวนการประสานความร่วมมือกับองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำระบบฐานข้อมูลท้องถิ่น รวมทั้งวัฒนธรรมท้องถิ่น อย่างเป็นระบบแล้ว กระบวนการพัฒนาท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยการใช้ IT มาเป็นเครื่องมือ และเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาชน ภาคประชาสังคมให้เข้ามามีส่วนร่วมทั้งการพัฒนาและมีส่วนร่วมในการตรวจสอบอย่างสร้างสรรค์แล้ว จะทำให้แนวทางการพัฒนาท้องถิ่นที่มีหลักธรรมาภิบาลในการบริหารและการพัฒนา และที่สำคัญคือ ประโยชน์จะตกอยู่ที่ประชาชนในท้องถิ่น

กระบวนการพัฒนาชุมชนเสมือนจริง (Virtual Community) ในโลกอนาคตอีก 10-20 ปี ข้างหน้า ผู้เขียนมีมุมมองว่า ควรมีการพัฒนาเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นฐานที่สำคัญในอนาคตให้มีความรู้ ความเข้าใจรวมทั้งการรู้เท่าทันเทคโนโลยีที่ทันสมัย และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างถูกต้อง มิใช่เพียงเพื่อตอบสนองความบันเทิง ความสนุกสนานเท่านั้น แต่ควรเป็นการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่านทางอินเตอร์เน็ต เว็บไซด์ อย่างถูกต้อง

นอกจากนั้นประเด็นเกี่ยวกับความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่ออินเตอร์เน็ต หรือเทคโนโลยีสมัยใหม่และ กระบวนการคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน อัตลักษณ์ และวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยภาพรวมแล้วเทคโนโลยีสารสนเทศเปรียบเสมือนเป็นดาบสองคม ที่มีทั้งคุณและโทษในตัวของมันเอง แต่ทำอย่างไรจะให้มีการนำด้านคุณประโยชน์จากเทคโนโลยีมาใช้ให้มากที่สุด โดยสรุปก็คือ ในโลกอนาคตอีก 10-20 ปีข้างหน้าเทคโนโลยีสารสนเทศมีความทันสมัยมากขึ้นและประเด็นที่สำคัญคือทำอย่างไรจะให้ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ ได้มีแผนรองรับการพัฒนาทางด้าน IT ที่เป็นรูปธรรม เช่น การเสริมสร้างความรู้แก่เด็กและเยาวชนในการรู้เท่าทันเทคโนโลยี กระบวนการพัฒนาการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน รวมทั้งมีกลไกและมาตรการที่รองรับทั้งทางด้านสิทธิมนุษยชน สิทธิส่วนบุคคลและมาตรการทางด้านกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชน และการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยในอนาคต

ขอขอคุณ บาว นาคร และ วิชาการ.คอม www.vcharkarn.com

ปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่ 2 กับหลักสูตรท้องถิ่น

ปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่ 2 กับหลักสูตรท้องถิ่น

การปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สองเป็นนโยบายที่รัฐบาลปัจจุบันได้ดำเนินการอยู่และเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ตลอดจนข่าวการทุจริตคอร์รัปชั่นที่เกี่ยวกับการศึกษา ปัญหาของการจัดการศึกษาในเรื่องวิชาชีพ ทางการแพทย์และพยาบาลของสถาบันการศึกษา ปัญหาความรุนแรงของเด็กและเยาวชนในสถานศึกษา ปัญหาคุณธรรม จริยธรรมของครูผู้สอน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงสภาพปัญหาของระบบการศึกษาไทยเป็นอย่างดี นับตั้งแต่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 เป็นต้นมาเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิรูปการศึกษานั้นผ่านมาได้ 10 ปีแล้ว โดยเน้นให้จัดการเรียน การสอน เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาขีดความสามารถของตนได้อย่างเต็มศักยภาพ และมีความสมดุลทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้



สำหรับประเทศไทยการศึกษาในอดีตที่ผ่านมานั้น ได้ถูกจัดขึ้นโดยครอบครัว ชุมชน หรือสถาบันทางศาสนา ที่มีส่วนร่วมในการถ่ายทอดความรู้หรือภูมิปัญญาที่เชื่อมโยงบนรากฐานประเพณีและวัฒนธรรมที่สั่งสมมาของสังคม ทำให้ความรู้เหล่านั้นคงอยู่และถ่ายทอดสืบสานต่อๆกันมา จนกระทั่งมาสู่การศึกษาในระบบโรงเรียน และสถาบันการศึกษาที่จัดโดยรัฐ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การจัดการศึกษาในประเทศไทยได้เกิดความแปลกแยกไปจากชุมชนท้องถิ่น ระบบการศึกษากลายเป็นเรื่องของการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง และครูผู้สอนได้มีบทบาทสำคัญในการเรียนการสอน และครูเป็นศูนย์กลางในการเรียนการสอน รวมทั้งหลักสูตรที่ผลิตจากส่วนกลางไม่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนท้องถิ่น ทำให้สถาบันการศึกษาและโรงเรียนไม่ได้ผลิตนักเรียน นักศึกษาที่มีความเข้าใจในภาษาท้องถิ่น วัฒนธรรมท้องถิ่น และภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนนั้นๆอย่างแท้จริง



ถ้าหากพิจารณาถึงระบบการศึกษาไทยในอดีต ปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นนั้นได้มีความสอดคล้องกับแนวคิดของ เปาโล แฟร์ (Paulo Freire) เป็นนักการศึกษาผู้หนึ่งที่ได้เขียนวิจารณ์ระบบการศึกษาที่มีครูเป็นศูนย์กลางในหนังสือ Pedagogy of the oppressed และหนังสือเล่มนี้ได้สร้างความหวั่นไหวให้แก่วงการการศึกษาเป็นอย่างยิ่งในสมัยนั้น เปาโล แฟร์ มีความเห็นว่าการศึกษาในระบบโรงเรียนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นระบบการศึกษาที่มีครูซึ่งเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดมักจะเป็นผู้กดขี่ กักขัง ครอบงำ ควบคุมความคิดของผู้เรียน โดยครูมีบทบาทเป็นผู้เผด็จการที่คอยแต่จะสั่งว่า ผู้เรียนควรเรียนอะไร ควรเรียนอย่างไร ควรคิดอย่างไร และประพฤติตัวอย่างไร ซึ่งเปาโล แฟร์ เห็นว่า การเรียนการสอนแบบนี้จะทำให้ผู้เรียนมีชีวิตจิตใจกลายเป็นวัตถุที่คอยแต่จะรองรับสิ่งที่ผู้สอนถ่ายทอดให้เท่านั้น ผู้เรียนจะไม่สามารถเข้าใจตนเอง ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ ไม่สามารถปรับปรุงตนเองและสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้นได้ เปาโล แฟร์ เรียกการศึกษาที่มีศูนย์อำนาจเบ็ดเสร็จอยู่ที่ครูนี้ว่า การศึกษาระบบธนาคารเงินฝาก (Banking Education System)



จนกระทั่งมาถึงปัจจุบัน ได้มีแนวคิดการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง เช่น การพัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ ให้มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ ตั้งแต่ปฐมวัย สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต การพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ เป็นผู้เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เป็นวิชาชีพที่มีคุณค่า มีระบบ กระบวนการผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพมาตรฐาน การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ทั้งในระบบ นอกระบบและแหล่งเรียนรู้ตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การพัฒนาการบริหารจัดการใหม่ มุ่งเน้นการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาและอปท.รวมทั้งการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองชุมชน เอกชน และทุกภาคส่วน



แนวนโยบายและแนวทางการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สองนั้นสอดรับกับนโยบายเรียนฟรี 15 ปี ของรัฐบาลปัจจุบัน การปฎิรูปการศึกษาทศวรรษที่สองแม้ว่าจะเน้นกระบวนการพัฒนาทั้งคุณภาพครูผู้สอน สถานศึกษา การบริหารจัดการ และความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ซึ่งเป็นแนวทางที่ดี ส่วนการนำนโยบายไปปฎิบัตินั้น จะสอดคล้องกับนโยบายที่วางไว้หรือไม่ การปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สองจะช่วยให้ระบบการศึกษาของไทยพัฒนาไปในทิศทางใด อย่างไรก็ตามควรให้ความสำคัญกับความรู้ของชุมชน ทุนชุมชนที่มีอยู่ ทั้งทุนมนุษย์คือปราชญ์ชาวบ้าน ทุนทางปัญญา คือภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ได้สืบทอดต่อกันมาหลายชั่วอายุคนนั้น น่าจะมีแนวทางการปรับใช้และประยุกต์ให้เป็นหลักสูตรท้องถิ่น มีการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเด็กนักเรียน รวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งของคนในชุมชน และที่สำคัญควรมีการเสริมสร้างจิตสำนึกให้เกิดความหวงแหนในบ้านเกิด ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมของชุมชน รวมทั้งการปลูกฝังจิตสำนึกด้านคุณธรรมและจริยธรรมให้กับนักเรียนด้วย มิใช่เรียนเพื่อให้เป็นคนเก่ง คนฉลาดอย่างเดียวเท่านั้น



ขอขอบคุณ บาว นาคร วิชาการ.คอม www.vcharkarn.com






--------------------------------------------------------------------------------

it ท้องถิ่น

สำหรับคนท้องถิ่นครับ
ทุก ๆ คนอาศัยอยู่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าจะอาศัยอยู่ในองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ เช่น กรุงเทพมหานคร และทุก ๆ คน มีความคาดหวังหรือตั้งเป้าประสงค์ที่จะให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนเองอาศัยอยู่ ต้องทำงานตามความประสงค์หลัก ๆ คือ ชุมชน 1) องค์กรท้องถิ่นต้องมีการบริหารจัดการดี 2) องค์กรท้องถิ่นมีการบริหารและบริการบรรลุเป้าหมายของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 3) องค์กรท้องถิ่นมีความเข้มแข็งด้านการเงินการคลัง 4) องค์กรท้องถิ่นมีเศรษฐกิจฐานรากที่มีขีดความสามารถในการแข่งขัน

เมื่อทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ต้องไม่ลืมว่าการพัฒนาของการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความสำคัญยิ่ง กล่าวคือ หากนำประโยชน์ของ IT เพื่อการจัดการตามมิติต่าง ๆ เช่น ด้านประสิทธิภาพของการทำงาน ทำให้เกิดผล คือ รวดเร็ว เก็บข้อมูลข่าวสารได้มาก เข้าถึงเร็ว การสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว ลดต้นทุน การประสานงานได้ดี

ด้านประสิทธิผล ทำให้การตัดสินใจของผู้บริหารได้เร็วและถูกต้อง เลือกการให้บริการได้ถูกต้อง แม่นตรง ความได้เปรียบในการทำงาน การแข่งขัน ทำให้บริการประชาชนดีขึ้น
ด้านคุณภาพชีวิตในการทำงาน ทำให้ลดข้อจำกัดในเรื่องสถานที่ จัดเวลาทำงานได้ตามต้องการ ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงาน มีความอิสระส่วนตัวมากขึ้น

ดังนั้นผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยุคสมัยใหม่จะต้องตื่นตัว และต้องพัฒนาบุคลากรให้ทันตามเทคโนโลยี ดังนี้ 1.หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการทำงาน จากการทำงานแบบเดิม เช่น หนังสือราชการเสนอไปตามลำดับชั้น จะต้องเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบที่ไม่เป็นทางการมากขึ้น ผู้บริหารควรทำงานในลักษณะผู้นำ ไม่จำเป็นต้องเซ็นเอกสารทุกแผ่นที่ออกจากสำนักงาน แค่มอบอำนาจให้ผู้บริหารระดับรองทำแทน เป็นต้น การทำงานแบบทำคนเดียว ต้องเปลี่ยนมาทำแบบเป็นทีม องค์กรควรจะมีขนาดเล็ก โดยนำ IT มาใช้แทน

2.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเครี่องมือสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น

3.ต้องมีการพัฒนาฐานข้อมูลระดับท้องถิ่นเพื่อใช้งานในอนาคต (ข้อมูลพื้นฐานของท้องถิ่น ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ) ข้อมูลบริการพื้นฐานตามภาระหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ข้อมูลด้านการเงิน การคลัง ข้อมูลด้านเศรษฐกิจท้องถิ่น) และที่สำคัญผู้บริหารท้องถิ่นต้องใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจมากขึ้น

4.ต้องมีระบบการป้องกันความปลอดภัย เป็นอย่างดีของระบบคอมพิวเตอร์ และระบบข้อมูลของหน่วยงาน

5.ระบบที่จัดทำขึ้นต้องเป็นระบบที่จะช่วยลดการใช้กระดาษ เพราะระบบงานที่ใช้กระดาษทำให้งานล่าช้า ระบบใหม่ควรอยู่ในลักษณะระบบอิเลกทรอนิกส์


6.นับได้ว่าหากผู้บริหารท้องถิ่น ได้พัฒนาระบบข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) เพื่อการบริหารงานและบริการประชาชน ตัวอย่าง การจัดทำระบบการให้บริการประชาชนทางด้านการทะเบียนและบัตรประชาชนของเทศบาลต่าง ๆ การให้บริการอบต.เคาน์เตอร์เซอร์วิสของอบต.ท่าข้าม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา การจัดทำแผนที่ภาษีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่ง เป็นต้น ถือได้ว่าเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)

http://songkhlatoday.com/paper/8115

วันจันทร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553

การเดินทาง

การเดินทางของชีวิต
เส้นทางชีวิตของคนเรามันแตกต่างกัน
บางคนอาจจะมีเส้นทางที่เรียบง่าย
บางคนอาจจะเจออุปสรรคมากมาย

แต่สิ่งเดียวที่ทุกคนต้องการก็คือ "กำลังใจ"
กำลังใจจากคนที่พร้อมจะเดินไปด้วยกัน
ไม่ว่าเราจะก้าวพลาด หรือเราจะสมหวัง

คนเราเกิดมาในชีวิต
จริงๆ แล้วไม่ได้ต้องการอะไรมากมาย
หน้าที่การงาน เงินทอง หรือสังคมสวยหรู
มันเป็นแค่สิ่งที่ฉาบฉวย
มันเป็นแค่สิ่งที่ทำให้เรารู้สึกสบายใจในการใช้ชีวิต
แต่มันไม่ใช่สิ่งที่อยู่กับเราตลอดไป

สุดท้าย...
ทุกคนก็ต้องการแค่คนๆ เดียวที่อยู่ข้างๆ
ไม่ว่าจะจน รวย อ้วน ผอม ดำ ขาว
เมื่อเป็นคนที่ใช่แล้ว
ก็กลายเป็นคนที่มีค่าที่สุดได้

การที่เราได้พบใครสักคน
ถือว่าเรามีวาสนาต่อกัน
เหมือนชิ้นส่วนจิ๊กซอว์ที่เราหามานาน

ถ้าเราไม่รักษาคนที่เราคิดว่า
สามารถร่วมทางไปกับเราได้แล้ว
ก็ไม่รู้ว่าอีกนานแค่ไหนจะได้พบอีก
ในที่สุด...
บั้นปลายชีวิต
เราก็จะกลายเป็นแค่คนแก่เหงาๆ เท่านั้นเอง

เส้นทางของชีวิต
บ้างก็สั้น...
บ้างก็ยาว...

สิ่งที่มีค่าที่สุดคือ
การที่เราได้พบคนที่เดินร่วมทางไปกับเรา
ไม่ว่าเส้นทางข้างหน้าจะมีอุปสรรคแค่ไหน
ก็พร้อมที่จะจับมือและก้าวไปพร้อมกับเรา
โดยที่ไม่เหลียวหลังกลับไปมองเส้นทางที่ผ่านมา
ก้าวไปพร้อมกันอย่างไม่ลังเล

เราไม่สามารถมองเห็นอนาคตได้
แต่เราสามารถทำวันนี้ให้ดีที่สุดได้
เพื่อที่จะส่งผลถึงอนาคตของเรา

ชีวิตมันก็แค่นี้
ถ้าเหนื่อยก็หยุดพัก
หายเหนื่อยเราก็เดินต่อไป

บางทีเราไม่รู้ว่าเราเดินต่อไปเพื่ออะไร
เราไม่ได้คิดถึงเลยว่า เราค้นหาอะไรในชีวิต
บางครั้งเราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าสิ่งที่เรา เราทำไปเพื่ออะไร
เราใช้แต่อารมณ์โดยที่เราไม่ได้มองดูคนรอบข้าง

จริงๆ แล้ว เราไม่เห็นจะต้องวิ่งไปหาอะไรเลย
การที่เราเดินไปช้าๆ
มันทำให้เราได้มองเห็นและศึกษาสิ่งรอบข้างได้มากขึ้น
ยิ่งวิ่งตามก็เหมือนสิ่งที่เราค้นหายิ่งห่างไกล

copy จาก benjy.vox.com/library
ไปอ่านเจอ ดีมากๆเลยครับ เลยเก็บมาฝาก
กำลังใจดีๆ ให้ตัวเอง
.. ไม่มีใครเกิดมาไร้ค่า แม้แต่คนโง่ที่สุดยังฉลาดในบางเรื่อง และคนฉลาดที่สุด ก็ยังโง่ในหลายเรื่อง ..
.. ไม่มีอะไรเสียเวลาไปมากกว่า การคิดที่จะย้อนกลับไปแก้ไขอดีต
ไม่เคยมีอะไรช้าเกินไป ที่จะทำใหสิ่งที่ตนฝัน ..
.. คนที่ไม่เคยหิว ย่อมไม่ซาบซึ้งรสของความอิ่ม
ความสำเร็จที่ผ่านความล้มเหลว ย่อมหอมหวานกว่าเดิม ..
.. อันตรายที่สุดของชีวิตคนเราคือ การคาดหวัง อย่ายอมแพ้ ถ้ายังไม่ได้พยายามอย่างเต็มที่ เหตุผลขอคนๆ หนึ่ง อาจไม่ใช่เหตุผลของคน อีกคนนึง ถ้าคุณไม่ลองก้าว คุณจะไม่มีทางรู้เลยว่า ทางข้างหน้าเป็นอย่างไร ปัญหาทุกอย่างล้วนอยู่ที่ตัวเราทั้งสิ้น ยินดีกับสิ่งที่ได้มา และยอมรับกับสิ่งที่เสียไป หลังพายุผ่านไป ฟ้าย่อมสดใสเสมอ มีแต่วันนี้ที่มีค่า ไม่มีวันหน้า วันหลัง ..
.. คนเรา ไม่ต้องเก่งไปทุกอย่าง แต่จงสนุกกับงานทุกชิ้น ที่ได้ทำ ..
หัวใจของการเดินทางไม่ได้อยู่ที่จุดหมาย หากอยู่ที่ประสบการณ์สองข้างทาง .. มากกว่า

........................................
บทความจากhttp://www.watsuthatschool.com/viteput/