วันพุธที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2553

Smart e-Nose

จมูกอิเล็กทรอนิกส์ Smart e-Nose


e-Nose จมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมในการจับกลิ่นที่มนุษย์ไม่สามารถรู้ได้ เนื่องจากกลิ่นของก๊าซบางชนิดทำให้เกิดการล้มเจ็บในโรงเลี้ยงสัตว์ ซึ่งผู้ประกอบการไม่สามารถทราบสาเหตุได้


ลักษณะการใช้งาน

ก๊าซที่เกิดขึ้นในโรงเลี้ยงสัตว์ เป็นก๊าซที่เป็นอันตรายต่อการเลี้ยงสัตว์ เช่น ในพื้นดินที่มีไนโตรเจนปะปนอยู่ไม่ว่าจะเป็นจากเศษอาหาร ขี้หมู เยี่ยวหมู เมื่อได้รับความชื้นในดินมากพอก็จะเกิดขบวนการแอมโมนิฟิเคชัน ทำให้ไนโตรเจนในสารอินทรีย์แตกตัวออกแล้วปล่อยแอมโมเนียออกมา สัตว์ที่สัมผัสก๊าซนี้อยู่เสมอจะเกิดการแพ้ระคายต่อเยื่ออ่อนต่างๆ เช่น อวัยวะสืบพันธุ์ ตา หู ปาก จมูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบทางเดินหายใจ ทำให้สัตว์เครียด อ่อนแอลง มีการแสดงออกคล้ายเป็นหวัดอ่อนๆ เช่น มีน้ำมูก น้ำตาไหล สัตว์จะถูกเชื้อโรคเข้าซ้ำเติมจนเป็นโรคต่างๆ ได้ง่าย ส่วนใหญ่สัตว์ปีกจะไวต่อก๊าซแอมโมเนียมาก ส่วนหมูจะได้รับผลกระทบจากก๊าซนี้เช่นกัน



สำหรับงานวิจัยนี้ได้นำจมูกอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้สายมาทำการวิเคราะห์สภาพภูมิอากาศ หรือสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นบริเวณฟาร์มเลี้ยงสัตว์ซึ่งมีการส่งข้อมูลเป็นเครือข่ายทำให้ได้ข้อมูลของก๊าซในบริเวณต่างๆ ของฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เพื่อเก็บข้อมูลสำหรับประมวลผลสภาพอากาศ ณ ช่วงเวลานั้นๆ ว่าสภาพอากาศนั้นเป็นสภาพอากาศดี สภาพอากาศพอใช้ หรือสภาพอากาศเสีย จากนั้นข้อมูลวิเคราะห์ขึ้นมาได้จะถูกเก็บในฐานข้อมูลเพื่อนำข้อมูลนั้นไปแก้ไขในเรื่องระบบสภาพฟาร์มเลี้ยงสัตว์ หรือมลภาวะที่เกิดจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ให้ได้ถูกต้องตามกระบวนการต่อไป

หลักการทำงาน

คุณสมบัติของเครื่องตรวจวัดก๊าซ

วัดก๊าซได้ 5 ชนิด Methane Ammonia Oxygen Hydrogen Sulfide Carbon dioxide
สามารถแสดงความชื้น อุณหภูมิ และเวลาในการวัด
แสดงผลผ่านหน้าจอ LCD
มีส่วนควบคุมการไหลของอากาศ
มีตัวกรองอากาศ สำหรับสร้างอากาศอ้างอิง
ส่งข้อมูลผ่านพอร์ตอนุกรม RS232
เชื่อมต่อระบบเครือข่ายด้วย Wireless Network
หลักการทำงานของเครื่องจะเริ่มจากส่วน Pneumatic ซึ่งจะมีปั้มลมทำหน้าที่นำอากาศจากภายนอกเข้ามาวัดอากาศ โดยอากาศจะถูกควบคุมทิศทางด้วยโนลินอยวาล์ว (Solenoid Vale) เพื่อนำอากาศนั้นมาเปรียบเทียบกับอากาศอ้างอิง โดยอากาศที่ถูกควบคุมทิศทางการไหลจะเข้ามายังส่วนของก๊าซเซ็นเซอร์อาเรย์ เพื่อทำการทดสอบโดยข้อมูลที่ได้จะอยู่ในรูปสัญญาณแอนะล็อก ดังนั้นจึงต้องผ่านกระบวนการแปลงสัญญาณให้อยู่ในรูปแบบดิจทัลสำหรับส่งข้อมูลผ่านระบบ Wireless Network ให้กับคอมพิวเตอร์กลางเพื่อทำการวิเคราะห์สภาพอากาศ และเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลต่อไป

เชิญชม ตัวอย่างได้ที่ งานประชุมวิชาการ สวทช. ประจำปี 2553

โดย ดร.อดิสร เตือนตรานนท์
ข้อมูลจาก nectec

1 ความคิดเห็น: